Page 14 - kpiebook65053
P. 14

“ประเทศไทยในอนาคต Future Thailand : มิติที่ 2 สังคม ชนบท ท้องถิ่น”  โดย สถาบันพระปกเกล้า

                       ประการที่สาม ข้อเสนอเชิงนโยบายและมาตรการที่จะขับเคลื่อนสังคมชนบทให้เป็นสังคมสมดุลและ
               ยั่งยืน เป็นมาตรการที่จะมุ่งไปสู่การน าประเทศไทยให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามเป้าหมายของ

               ยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน จะต้องเริ่มจากฐานล่างของสังคมคือ สังคมชนบท
               จึงกล่าวได้ว่าฉากทัศน์ที่พึงปรารถนาและข้อเสนอเชิงนโยบายตามที่คณะผู้วิจัยได้เสนอไว้เป็นแนวทางในการ
               ขับเคลื่อนสังคมไทยให้บรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ
                       ประการที่สี่ สังคมสมดุลและยั่งยืนเป็นสังคมที่มีองค์ประกอบทางสังคมสอดคล้องเป็นไปตามแนว

               พระราชด าริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมี
               พระราชด าริให้คนไทยทั้งมวล ทุกองค์กรและทุกภาคส่วนน าหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (sufficiency
               economy) มาใช้ ซึ่งประกอบไปด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน ภายใต้เงื่อนไขความรู้
               และคุณธรรม สังคมที่พึงปรารถนาตามที่คณะผู้วิจัยเสนอเป็นสังคมที่ล้วนแล้วแต่ต้องยึดหลักทั้ง 3 ประการนี้

                       ฉากทัศน์สังคมสมดุลและยั่งยืน จะช่วยสร้างความมั่งคั่งให้แก่ประเทศในฐานะที่ท าให้สังคมชนบทเป็น
               ฐานการผลิตอาหารให้กับคนในชนบทและคนไทยทั้งมวล เป็นความมั่งคั่งที่มิใช่ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่เป็น
               ตัวเงินเท่านั้นแต่ยังรวมถึงความมั่งคั่งของทุนทางสังคม (social capital) และทุนทางทรัพยกร (natural
               capital) ส่วนในด้านความมั่นคงนั้น มาตรการที่ได้น าเสนอ เช่น การมีสวัสดิการส าหรับแรงงานภาค

               เกษตรกรรมจะช่วยสร้างความมั่นคงในอาชีพ นอกจากนี้หลักการและแนวทางในการท าเกษตรกรรมภายใต้
               แนวคิดของสังคมสมดุลและยั่งยืนเป็นการสร้างความมั่นคงของสังคม ความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคง
               ทางเศรษฐกิจ จะส่งผลให้คนในชนบทมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เพิ่มมากขึ้น และยังน าพา

               ประเทศไปสู่ความยั่งยืนในการพัฒนา เป็นการประกอบอาชีพในชนบทที่ฟื้นฟูและรักษาสภาพแวดล้อม
               ให้ยั่งยืน คนรุ่นปัจจุบันสามารถถ่ายทอดค่านิยมและวัฒนธรรมไปสู่คนรุ่นต่อไป รวมทั้งรักษาไว้ซึ่งคุณค่าของ
               มรดกทางวัฒนธรรมให้มีความภูมิใจในการที่จะปกป้องและด ารงรักษาไว้ซึ่งสังคมสมดุลและยั่งยืน
                       นอกจากนี้ท าให้เกิดสังคมที่มีภูมิคุ้มกันทางสังคม (social immunity) คงความเป็นสังคมที่เป็นแหล่ง
               ผลิตทางอาหารเพื่อความมั่นคงทางอาหาร (food security) เป็นพื้นที่ปลอดภัยในภาวะวิกฤต ตลอดจนเป็น

               พื้นที่ที่จะอ านวยประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว

               ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

                       ในการที่จะท าให้สังคมชนบทเป็นสังคมที่สมดุลและยั่งยืนตามฉากทัศน์ที่ได้น าเสนอไว้นั้น คณะผู้วิจัยมี

               ข้อเสนอแนะที่ควรน ามาพิจารณาเป็นหลักการและกรอบแนวคิดในการพัฒนาประเทศ ดังนี้
                       1.ข้อเสนอเพื่อก าหนดกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคต
                       ฉากทัศน์สังคมชนบทที่พึงปรารถนาเป็นอนาคตของสังคมชนบทแบบสมดุลและยั่งยืน เป็นภาพสังคม

               ที่มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals -MDGs) ซึ่ง
               ต้องการเสริมสร้างมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
                       ในเป้าหมายการพัฒนาจ านวน 17 เป้าหมาย มีเป้าหมายที่สอดคล้องกับฉากทัศน์ของสังคมชนบท

               แบบสมดุลและยั่งยืน ซึ่งสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายจากระดับฐานล่าง โดยกระบวนการ
               ของท้องถิ่นและชุมชน ชนบท เป้าหมาย SDGs ดังกล่าวนี้ ได้แก่ เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจน (No
               Poverty) เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพส าหรับทุกคนในทุก
               วัย (Good health and well-being) เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม

               และยั่งยืน (Decent work and Economic Growth) เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาค (Reduced
               inequalities) เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Responsible




                                                           13
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19