Page 11 - kpiebook65053
P. 11
“ประเทศไทยในอนาคต Future Thailand : มิติที่ 2 สังคม ชนบท ท้องถิ่น” โดย สถาบันพระปกเกล้า
เกื้อกูลยังมีอยู่แต่ไม่มากนัก ขณะที่การแสวงหาประโยชน์ส่วนตนมีมากขึ้น ในอนาคตสังคม
ปนสุขปนทุกข์เป็นสังคมที่ทรัพยากรยังมีอยู่แต่มีไม่เพียงพอในบางชุมชนและเผชิญกับการแย่งชิง
ทรัพยากร กล่าวโดยสรุปสังคมปนสุขปนทุกข์เป็นสังคมที่รัฐให้ความส าคัญกับการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐาน มีการคมนาคมที่ดีขึ้น มีการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดี แต่คนส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงบริการ
สาธารณะมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดีขึ้น ประชาชนมีหนี้สิน ขาดโอกาสที่จะมีงานท า ถึงแม้จะมีบริการ
ทางการแพทย์ที่ดีแต่ประชาชนยังมีสุขภาพที่เสื่อมโทรม เพราะขาดความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ
และมีรายได้ไม่เพียงพอ มีครอบครัวแต่ท าหน้าที่ไม่สมบูรณ์ เป็นสังคมที่มีโครงสร้างพื้น
ฐานรองรับทุกอย่างแต่ประชาชนกลับไม่มีชีวิตชีวา
4) ฉากทัศน์สังคมอมทุกข์ เป็นลักษณะของสังคมที่มีความเหลื่อมล้ ารุนแรง สังคมมี
ความแตกแยกและความขัดแย้งที่ร้าวลึก ทั้งความแตกแยกทางความคิด ช่องว่างระหว่างคนรุ่น
เก่ากับคนรุ่นใหม่ (generation gap) ผู้คนเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตนและแสวงหาวัตถุและเงิน
ระบบอุปถัมภ์มีบทบาทสูงขึ้น ประชาชนไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ต้องรอรับความช่วยเหลือจาก
รัฐ ประชาชนมีหนี้สิน รัฐใช้ชนบทเป็นกลไกการสะสมทุน และดูดทรัพยากรออกจากชนบท รวมถึง
ท าให้ชนบทเป็นแหล่งรองรับฐานอุตสาหกรรมหนัก เช่น โรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม นิคม
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยไม่มีการวางแผนรองรับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ฐานทรัพยากรใน
ชนบทถูกใช้ไปกับอุตสาหกรรม เกิดการขาดแคลนทรัพยากร ผู้คนพึ่งพาตนเองไม่ได้ต้องอาศัยเงิน
ในการซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคจากเมือง เป็นสังคมที่ขาดความสมดุลอย่างรุนแรง โดยเฉพาะการที่
มีเพียงการบริโภคแต่ไม่มีการผลิต ส่งผลให้ขาดความมั่นคงทางอาหาร ผู้คนต่างคนต่างอยู่และ
ไม่ให้ความส าคัญกับการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนา แต่หันหลังให้กับการมีส่วนร่วม การไปท าบุญ
และวัฒนธรรมดั้งเดิมแทบไม่มีเหลืออยู่ เพราะคนในชนบทมีวิถีชีวิตแบบคนเมือง คือ ปัจเจกชน
นิยม แสวงหาเงินและวัตถุ สังคมอุปถัมภ์ น าไปสู่ระบบมาเฟียแบบพวกพ้อง ความเป็นชุมชน
ลดลง อีกทั้งทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ มีการแย่งชิงทรัพยากร เกิดปัญหาทางสังคมและปัญหา
สุขภาพ มีอัตราการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้น คุณภาพสังคมอยู่ในระดับฑ์
ต่ า (Low social quality) มาก
ในฉากทัศน์ทั้งสี่แบบนี้ตัวแบบที่พึงปรารถนาที่มีความเป็นไปได้และมีความเหมาะสมต่อสังคมชนบทไทย
คือ สังคมชนบทแบบสมดุลและยั่งยืน (Sustainable and Balance Society)
อภิปรายผล
จากการวิจัยครั้งนี้ได้พบปัญหาที่ส าคัญที่เป็นผลมาจากการพัฒนาประเทศคือ คนรุ่นใหม่ในชนบท
มีความสนใจในการท างานภาคเกษตรกรรมลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มแรงงานรุ่นใหม่ที่มีอายุอยู่ระหว่าง
15-24 ปี ในปี 2555 จะมีประมาณร้อยละ 4.2 ของแรงงานทั้งประเทศ ขณะที่กลุ่มอายุระหว่าง 25 ถึง 39 ปี
มีประมาณร้อยละ 10.5 รวมแรงงานทั้ง 2 กลุ่มนี้ประมาณร้อยละ 10.7 ของแรงงานทั้งประเทศ คนกลุ่มนี้
เมื่อถึงปี 2574 หรืออีก 10 ปีข้างหน้า (นับจากปี 2564) จะมีอายุระหว่าง 35 ถึง 59 ปี ถ้าหากมีสมมุติฐานว่า
ประชากรวัยเด็กที่มีอายุต่ ากว่า 15 ปีในปัจจุบัน ไม่เข้าสู่แรงงานภาคเกษตรเลย หมายความว่าในปี 2574
ประเทศไทยจะมีแรงงานภาคเกษตรอยู่ประมาณร้อยละ 15 ของแรงงานทั้งประเทศ
10