Page 114 - kpiebook65064
P. 114
บทที่ 4
แนวทางการพัฒนากลไกระบบยาและตัวอย่างกรณีศึกษาประเทศสิงคโปร์
การบริหารจัดการระบบยาในแต่ละประเทศจัดได้ว่าเป็นเรื่องส าคัญไม่น้อยไปกว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของ
ประเทศ เพราะยาสามารถใช้ในการรักษาโรค รักษาชีวิต และท าให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ เป้าหมายในการบริหาร
จัดการยานอกจากท าให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาจ าเป็นแล้ว ยังรวมถึงการได้รับยาอย่างเหมาะสมและมี
ประสิทธิภาพด้วย ท าให้แต่ละประเทศจ าเป็นต้องมีแนวทางในการควบคุมและการจัดการระบบยาที่ดี เพื่อให้ยาที่
ผลิตและจ าหน่ายให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นไปตามหลักของความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
กรอบความคิดในการบริหารจัดการยาสามารถแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนแรกเป็นกระบวนการก่อน
น ายาเข้าสู่ตลาด (Pre-marketing) คือ การขึ้นทะเบียนยา ส่วนที่สองเป็นกระบวนการภายหลังจากที่ยาเข้าสู่ตลาด
แล้ว (Post-marketing) ซึ่งเป็นการบริหารจัดการยา แบ่งเป็นกระบวนการ 4 ส่วน ได้แก่ การคัดเลือกยา
(Selection) การจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement) การจัดจ าหน่าย (Distribution) และการใช้ยา (Use) ซึ่งในการ
บริหารจัดการทั้ง 4 กรอบแนวคิดมีระบบการจัดการเพื่อสนับสนุนในด้านต่างๆ ได้แก่ การวางแผน การบริหาร
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
64 จัดการองค์กร การบริหารจัดการข้อมูล และการบริหารทรัพยากรบุคคล นอกจากนี้ ในหลายๆ ประเทศ เช่น
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ฯลฯ จะมีกระบวนการที่เรียกว่าการควบคุมการส่งเสริมการขายด้วย ซึ่งเป็นการควบคุม
ไม่ให้มีการส่งเสริมการขายที่ผิดจรรยาบรรณหรือจริยธรรม
แผนภาพที่ 4.1 กรอบแนวความคิดในการบริหารจัดการระบบยา
แผนภาพที่ 4.1 กรอบแนวความคิดในการบริหารจัดการระบบยา
Pre-marketing Post-marketing การควบคุมการส่งเสริม
การขาย
การ
ขึ้นทะเบียน
ยา Management
(Registoration) Support
ที่มา: ดัดแปลงจาก WHO. Managing pharmaceutical programs.
ที่มา: ดัดแปลงจาก WHO. Managing pharmaceutical programs.
4-1
ในการศึกษากรณีศึกษาต่างประเทศ คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการทบทวนแนวทางการดำเนินการ
จัดการระบบยาที่ดีจาก WHO ซึ่งถือเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการนำเสนอหรือชี้แนะแนวทาง
ในการบริการจัดการระบบยา รวมถึงการกำกับดูแลระบบยาให้มีประสิทธิภาพ และได้ยกตัวอย่าง
กรณีศึกษาของประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีการควบคุมและการจัดการระบบยาที่ดี
ในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ ในบางกรณีได้ยกตัวอย่างของประเทศสหรัฐอเมริกาเข้ามาเป็นกรณี
ตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบในบางประเด็นอีกด้วย
4.1 การขึ้นทะเบียนยา
การขึ้นทะเบียนยาถือเป็นขั้นตอนสำคัญของการบริหารจัดการยาที่องค์การอนามัยโลก
(WHO) มีหน้าที่ในการนำเสนอหรือชี้แนะแนวทางในการบริการจัดการระบบยา รวมถึงการกำกับ
ดูแลระบบยาให้มีประสิทธิภาพ ได้ให้คำแนะนำแนวทางการขึ้นทะเบียนยาและทำหน้าที่ในการ
รับรองมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรมเบื้องต้นผ่านการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์
ยาและกระบวนการในการผลิตยา การพิจารณาดังกล่าวครอบคลุมถึงพื้นที่ตั้งโรงงาน พื้นที่ใกล้เคียง
และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตด้วย โดย WHO เน้นการประเมินคุณภาพในด้านความ
ปลอดภัยและด้านความมีประสิทธิภาพ เมื่อผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการผลิตยาได้รับการรับรอง
เบื้องต้นจาก WHO แล้ว จะได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนยาที่ได้รับการตรวจสอบผ่านเกณฑ์ที่
กำหนดของ WHO ผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งประเทศต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีอำนาจในการ
พิจารณาการขึ้นทะเบียนยาสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้
บทที่ 4
สถาบันพระปกเกล้า