Page 146 - kpiebook65064
P. 146

96           โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
                           เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                        4.3.2 สรุปปัจจัยสำคัญอันนำไปสู่ความสำเร็จของกระบวนการจัดซื้อยา


                              ปัจจัยสำคัญอันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการจัดซื้อยา คือ


                              (1) การควบคุมให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล เพื่อป้องกันการส่งเสริมการใช้ยาที่มี
                                  ราคาเกินความจำเป็น ในกรณีของประเทศสิงคโปร์ การจัดซื้อยามีลักษณะเสรีและ
                                  มีระบบสุขภาพที่ขึ้นกับกลไกตลาดเป็นหลัก จึงต้องอาศัยการควบคุมผ่านประมวล

                                  จริยธรรม (Code of Ethics) เน้นการควบคุมไปที่เภสัชกรเป็นสำคัญ

                              (2) การควบคุมการส่งเสริมการขายของบริษัทยาหรือผู้แทนยา โดยอาศัยการออก
                                  กฎหมายควบคุมมิให้บริษัทยาสามารถเข้ามามีบทบาทหรือแทรกแซงการใช้ยาของ

                                  แพทย์ได้ ทั้งนี้ การออกกฎหมายหรือกฎระเบียบเป็นไปเพื่อควบคุมความสัมพันธ์
                                  ระหว่างบริษัทยากับแพทย์ผู้ใช้ยา รวมถึงเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับ

                                  การจัดซื้อยา เช่น เภสัชกร เป็นต้น
                              (3) ระบบการให้การสนับสนุนของเอกชนหรือบริษัทยา การให้การสนับสนุนต่าง ๆ

                                  โดยบริษัทยา ไม่ควรมีรูปแบบการให้ที่มีลักษณะของผลประโยชน์ต่างตอบแทน
                                  ดังนั้น ในกรณีของประเทศสิงคโปร์การให้ทุนการศึกษาต่าง ๆ แก่แพทย์จะมีการ

                                  ให้การสนับสนุนผ่านกองทุนภายใต้กระทรวงสาธารณสุข โดยปกติการให้การ
                                  สนับสนุนเหล่านี้ถูกควบคุมไว้ในกฎหมายหรือกฎระเบียบการส่งเสริมการขาย


                   4.4		การส่งเสริมการขาย (Promotion)



                         การกำกับดูแลการส่งเสริมการขายเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้มีการเผยแพร่ข้อมูล
                   สรรพคุณของยาที่ไม่ถูกต้อง หรือมีการโฆษณาเกินจริง ทำให้เกิดการเข้าใจผิด และใช้ยาอย่างไม่

                   ถูกต้อง การควบคุมและกำกับดูแลดังกล่าวจะต้องกระทำโดยหน่วยงานผู้มีอำนาจ ในบาง
                   ประเทศอาจมีการกำกับดูแลการส่งเสริมการขาย ด้วยแนวทางปฏิบัติของอุตสาหกรรมยาเอง

                   หรืออาจเป็นการร่วมกันกำกับระหว่างอุตสาหกรรมยาและหน่วยงานผู้มีอำนาจ ทั้งนี้ การควบคุม
                   การโฆษณาและส่งเสริมการขายยาได้ถูกควบคุมโดยกฎหมายในทุก ๆ ประเทศ ซึ่งอาจแตกต่างกัน
                   ไปในเชิงโครงสร้างของการกำกับดูแล เช่น กรณีของประเทศคิวบาที่อนุญาตให้สามารถโฆษณาและ

                   ส่งเสริมการขายยาได้ แต่จะต้องทำการโฆษณาผ่านระบบการดูแลและจัดการของรัฐเท่านั้น

                         แนวทางในการควบคุมการส่งเสริมการขายภายใต้กรอบของ WHO ระบุไว้ใน Ethical
                   Criteria for Medicinal Drug Promotion (1988) ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ของจริยธรรม

                   ในการส่งเสริมการขายยา ที่จะต้องให้การสนับสนุนและส่งเสริมอย่างสมเหตุผล เกณฑ์จริยธรรม
                   ในการส่งเสริมการขายยาจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเหมาะสม ชอบธรรม และเป็นจริง
                   สามารถช่วยในการตัดสินใจใช้ยาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม มีมาตรฐานทางจริยธรรมที่สามารถ







                   บทที่ 4
                   สถาบันพระปกเกล้า
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151