Page 151 - kpiebook65064
P. 151
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ 101
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
กล่องข้อความที่ 4.1: แนวทางหรือมาตรการกำกับดูแลการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
ตามหลัก WHO
1. ขึ้นทะเบียนยา เพื่อให้มั่นใจว่ายาที่ขายในตลาดเป็นยาที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพและ
คุณภาพที่ดี ส่วนยาที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนถือเป็นสิ่งต้องห้าม
2. จำกัดการใช้ยาตามใบสั่งยา โดยให้ใช้ได้ตามระดับของผู้สั่งจ่ายยาที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
รวมถึงจำกัดประเภทหรือชนิดของยาที่สามารถสั่งได้ตามใบสั่งยา หรือจำกัดประเภทยา
ที่ไม่สามารถสั่งได้โดยใบสั่งยา
3. กำหนดให้มีมาตรฐานในการศึกษาสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ พร้อมพัฒนาและบังคับ
ใช้หลักจริยธรรมผ่านความร่วมมือจากมหาวิทยาลัย
4. การออกใบอนุญาตให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เช่น แพทย์พยาบาล เจ้าหน้าที่ทาง
การแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ปฏิบัติงานทุกคนมีความสามารถที่จำเป็นและเพียงพอ
ในการวินิจฉัยโรค การสั่งยา และการจ่ายยา
5. การออกใบอนุญาตร้านยา เพื่อให้แน่ใจว่ามีความสามารถในการจ่ายยาตามมาตรฐาน
6. ติดตามและกำกับดูแลการส่งเสริมการขายยา เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีการส่งเสริมการขายยา
ที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรมและมีความเป็นกลาง โดยอาจใช้ WHO’s ethical guidelines
(1988) เป็นแนวทางในการควบคุม
ที่มา: สรุปความจาก WHO (2002). Promoting rational use ofmedicines: core components.
4.4.1 ตัวอย่าง การส่งเสริมการขาย กรณีศึกษาประเทศสิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการควบคุมการส่งเสริมการขายที่ค่อนข้างเข้มงวดและ
รัดกุม คือ มีการควบคุมในทุกระดับของการขายยา โดยให้ความสำคัญประเภทของยา และประเภท
ของคน
ภายหลังจากการที่ยาได้ถูกขึ้นทะเบียนตามกระบวนการข้างต้นแล้ว ยาที่ถูกจำหน่ายใน
ประเทศสิงคโปร์ต้องถูกควบคุมเกี่ยวกับการส่งเสริมการขายและการโฆษณายา แบ่งได้เป็น
สามลักษณะ คือ 1) การควบคุมการส่งเสริมการขายผ่านประเภทของการอนุมัติขึ้นทะเบียนยา
(Forensic classification) 2) การควบคุมการส่งเสริมการขายผ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้องและ
3) การควบคุมการส่งเสริมการขายผ่านการกำกับดูแลและแนวทางปฏิบัติของสถาบันวิทยาศาสตร์
สุขภาพแห่งชาติ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
บทที่ 4
สถาบันพระปกเกล้า