Page 141 - kpiebook65064
P. 141
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ 91
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
จากรูปแบบของการอุดหนุนที่ให้กับผู้ป่วยผ่านทาง SDL 1 หรือ SDL 2 กล่าวคือ ในกรณีของ SDL
1 ผู้ป่วยจะถูกเรียกค่าธรรมเนียมจำนวน 1.40 ดอลล่าร์สิงคโปร์ต่อรายการยาต่อสัปดาห์ ในขณะที่
SDL 2 จะมีค่าธรรมเนียม 50% ของค่าใช้จ่าย (Charges) หมายความว่า ยาจำเป็นที่มีคน
ต้องการใช้มาก และราคาต่ำ จะถูกคิดค่าธรรมเนียมในอัตราต่ำ หาก SDL 2 เป็นยาที่มีราคาสูง
ก็จะถูกเก็บค่าธรรมเนียมในราคาที่สูงไปด้วยนั่นเอง ขณะที่ SDLซึ่งในส่วนนี้จะเริ่มเป็นปัญหาต่อ
งบประมาณรายจ่ายต่อไปในอนาคตได้ เนื่องจากมีรายการยา SDL 1 จำนวน 487 รายการ ขณะที่
มีจำนวน SDL 2 อีก 101 รายการ ซึ่งในการอุดหนุนงบประมาณด้านการรักษาโรคนี้ไม่มีการแยก
งบประมาณสำหรับ SDL1 และ SDL2 ทำให้อาจเป็นปัญหาแต่ละกองทุนที่ตอนคิดค่าใช้จ่ายมีการ
แยกอัตราค่าธรรมเนียม
ระบบการอุดหนุนนี้เองที่ทำให้ทราบว่าผู้ป่วยที่รับเงินอุดหนุนสามารถเข้าถึงยาจำเป็นได้
จริง นอกจากนี้ รายการยาดังกล่าวยังได้รับการปรับปรุงให้มีความทันสมัยอยู่เสมอเช่นเดียวกับ
แนวทางที่ WHO ได้เสนอไว้ และใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกยามาตรฐานเดียวกันกับ WHO กล่าวคือ
มีการจัดลำดับความสำคัญของโรคที่มีการรักษาบ่อย มีการพิจารณาแนวทางในการรักษา (line of
therapy) ความแพร่หลายของโรค (disease prevalence) ประเภทของผลลัพธ์ที่ได้จากการรักษา
(type of outcome) ความสามารถในการจ่ายชำระค่ายาของคนไข้ (affordability of the drug to
patients) และความคุ้มค่าต่อต้นทุนในการรักษา (cost-effectiveness)
4.2.2 สรุปปัจจัยสำคัญอันนำไปสู่ความสำเร็จของกระบวนการคัดเลือกยา
ปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการคัดเลือกยา คือ
(1) ความเชี่ยวชาญของผู้ที่มีหน้าที่ในการคัดเลือกยาเข้าสู่รายการยาจำเป็น โดยผู้ที่
มีหน้าที่ในการคัดเลือกยานั้นจะต้องคัดเลือกยา โดยใช้หลักความคุ้มค่าในการคัด
เลือกยาประกอบกับแนวทางการรักษา
(2) โครงสร้างการทำงานที่ไม่สามารถถูกแทรกแซงได้โดยฝ่ายการเมือง สิ่งที่เห็น
ได้ชัดในกรณีของประเทศสิงคโปร์ คือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ทั้งการขึ้นทะเบียนยา
การตรวจสอบคุณภาพยา และการคัดเลือกยาจำเป็นนั้น แม้ว่าหน่วยงานดังกล่าว
จะอยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุขก็ตาม แต่การทำงานนั้นมิได้ถูกแทรกแซงโดย
ฝ่ายการเมือง หรือเอกชน แต่อย่างใด
(3) จำเป็นที่จะต้องมีการประเมินต้นทุนราคายา เนื่องจากการคัดเลือกยาจำเป็นต้อง
พิจารณาว่าเป็นยาที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสม ทำให้จะต้องทำการพิจารณา
ทั้งต้นทุนต่อหน่วย และต้นทุนต่อการรักษาทั้งหมด ซึ่งอาจอาศัยการพิจารณาด้วย
cost/benefit ratio ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นเกณฑ์เปรียบเทียบความ
คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพของรายการยาที่เข้ามาใหม่ได้
บทที่ 4
สถาบันพระปกเกล้า