Page 372 - kpiebook65064
P. 372

322           โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
                           เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                   ภาระงานในปัจจุบัน เนื่องจากหน่วยงานผู้ทำหน้าที่ในการคัดเลือกยาในปัจจุบันคือ งานระบบยา

                   แห่งชาติและสารสนเทศ กลุ่มงานพัฒนาระบบ สำนักยา อย. ต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งของ
                   องค์กรในการปฏิบัติงาน ดังนี้

                                - การยกฐานะของงานระบบยาแห่งชาติและสารสนเทศ กลุ่มงานพัฒนาระบบ

                                  สำนักยา อย. เนื่องจากมีฐานะเป็นเพียงงานหนึ่งของสำนักยา อย. โดยมี
                                  ทรัพยากรและบุคลากรที่จำกัด แม้ว่าจะได้รับความช่วยเหลือด้านงบประมาณจาก
                                  หน่วยงานอื่นที่ต้องเป็นผู้ใช้ยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ (เช่น สปสช.) หรือการ

                                  ช่วยเหลือด้านเทคนิค (เช่น การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข
                                  จากโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) เป็นต้น) แต่

                                  เนื่องจากมีภาระงานที่มากจากการเป็นเลขานุการให้กับคณะกรรมการพัฒนาระบบ
                                  ยาแห่งชาติและคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ รวมถึงเป็นผู้จัดทำและตรวจสอบ
                                  เอกสารเพื่อการพิจารณา ดังนั้น เพื่อให้งานในส่วนนี้เพิ่มความคล่องตัวและได้รับ

                                  ทรัพยากรมากขึ้น จึงควรยกฐานะของงานระบบยาแห่งชาติและสารสนเทศ เป็น
                                  หน่วยงานที่มีฐานะใหญ่กว่า เช่น ให้มีฐานะเป็นกลุ่มงานหนึ่งของสำนักยา อย.

                                  หรือยกฐานะให้เป็นสำนักหนึ่งใน อย. หรือยกฐานะและถ่ายโอนงานเป็นสำนัก
                                  หนึ่งของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

                                - การพัฒนากลไกเพื่อจัดความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชนและคณะกรรมการฯ
                                  ชุดต่าง ๆ ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเป้าหมายของการทำงานแต่ละด้าน

                                  เนื่องจากคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติและคณะกรรมการชุดต่าง ๆ
                                  ไม่อนุญาตให้ภาคเอกชนมาเป็นกรรมการ แต่ให้ฝ่ายเอกชนมีส่วนร่วมในการ

                                  เข้ามาให้ข้อมูลหรือความเห็นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มีข้อถกเถียงถึงแนวนโยบาย
                                  และการนำนโยบายไปปฏิบัติบางด้านที่กระทบต่อภาคเอกชนและภาคเอกชนควรมี
                                  ส่วนในการตัดสินใจ (เช่น การกำหนดนโยบายแห่งชาติด้านยาที่เกี่ยวข้องกับการ

                                  พัฒนาอุตสาหกรรมยา) ในทางกลับกัน บางนโยบายหรือการนำนโยบายไปปฏิบัติ
                                  บางด้านไม่ควรให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมเพราะอาจเกิดการแทรกแซงและ

                                  ผลประโยชน์ทับซ้อน (เช่น การคัดเลือกยาและการต่อรองราคายา) ดังนั้น จึงควร
                                  มีการจัดความสัมพันธ์เหมาะสมระหว่างภาคเอกชนกับคณะกรรมการชุดต่าง ๆ
                                  ให้สอดคล้องกับภารกิจแต่ละด้าน ควรกำหนดช่องทางและระดับการมีส่วนร่วมโดย

                                  พิจารณาจากอำนาจหน้าที่และภารกิจต่าง ๆ ของคณะกรรมการพัฒนาระบบยา
                                  แห่งชาติและคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคี

                                  ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม ในรูปของคณะที่ปรึกษาเพื่อให้
                                  ข้อมูลและคำแนะนำโดยไม่มีผลผูกมัดต่อการตัดสินใจของคณะกรรมการ เป็นต้น










                   บทที่ 8
                   สถาบันพระปกเกล้า
   367   368   369   370   371   372   373   374   375   376   377