Page 59 - kpiebook65064
P. 59
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
นอกจากนี้ ทางผู้วิจัยได้ศึกษาถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการขาย (Promotion)
ที่มีต่อระบบอภิบาลยาเพิ่มเติม เนื่องจากการส่งเสริมการขายเป็นกิจกรรมการให้ความรู้และชักชวน
ให้มีการใช้และสร้างความเชื่อมั่นต่อผลิตภัณฑ์สุขภาพ เป็นกิจกรรมที่มีผลต่อการใช้ยาของแพทย์
โดยตรง และส่งผลต่อการจัดซื้อยาของสถานพยาบาลในทางอ้อมอีกทางหนึ่ง ประเด็นปัญหา
และมาตรการการควบคุมการส่งเสริมการขายถูกให้ความสำคัญและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า
ได้ส่งผลต่อธรรมาภิบาล เช่น การส่งเสริมการขายที่ผิดหลักจริยธรรม (อาทิ การให้ของขวัญที่มี
มูลค่าสูง การสนับสนุนที่มิได้เป็นกิจกรรมทางวิชาการ) การทำให้เกิดการใช้ยาที่ไม่สมเหตุสมผล
(เช่น แพทย์ที่สั่งจ่ายยาเกินความจำเป็นเพื่อทำยอดขายหรือ “หมอยิงยา”) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาครั้งนี้คณะผู้วิจัยจะไม่เข้าไปศึกษาในขั้นตอนการใช้ยาของแพทย์
เนื่องจากขั้นตอนนี้มีความสลับซับซ้อนในเชิงเทคนิค
1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. ศึกษาสถานการณ์ระบบอภิบาลยาของไทยเพื่อพัฒนาธรรมาภิบาลของระบบอภิบาลยา
จากการศึกษาเชิงเอกสาร (Documentary Research)การสำรวจความคิดเห็นผ่าน
แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
2. วิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยงที่มีต่อธรรมาภิบาลของระบบอภิบาลยาของประเทศไทย
3. จัดทำข้อเสนอแนะในการปรับปรุงปัจจัยเพื่อพัฒนาธรรมาภิบาลของระบบอภิบาลยาที่
เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย
1.3 ขอบเขตการศึกษา
1. ศึกษากฎหมาย ระเบียบ มาตรฐาน และขั้นตอนการทำงานที่ส่งผลต่อระบบอภิบาลยา
2. ศึกษาองค์กรที่มีบทบาทในการกำกับดูแลระบบอภิบาลยาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก
ที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานด้านวิชาการและวิชาชีพที่มีบทบาท
ในการกำหนดนโยบายยาของประเทศไทย
3. ศึกษาระบบอภิบาลยาเฉพาะขั้นตอนการขึ้นทะเบียนตำรับยา (Registration) การคัดเลือก
ยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ (Selection) และ การจัดซื้อยาเข้าสู่สถานพยาบาล
(Procurement) เท่านั้น โดยให้ความสำคัญกับความเสี่ยงอาจที่เกิดขึ้นและส่งผลต่อหลัก
ธรรมาภิบาล
4. ศึกษาระบบอภิบาลยาจากกรณีศึกษาต่างประเทศ เพื่อนำแนวทางมาประยุกต์ใช้และ
เสริมสร้างความมีธรรมาภิบาลยาของประเทศไทยให้มีมาตรฐานและเป็นสากล
บทที่ 1
สถาบันพระปกเกล้า