Page 63 - kpiebook65064
P. 63
2.1 แนวความคิดเกี่ยวกับระบบอภิบาล (Governance)
และธรรมาภิบาล (Good Governance)
2.1.1 หลักการเบื้องต้น: ความแตกต่างระหว่างระบบอภิบาลและ
ธรรมาภิบาล
การทำความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับระบบอภิบาล (Governance) และธรรมาภิบาล
(Good Governance) จำเป็นต้องสร้างความชัดเจนและความแตกต่างระหว่างแนวคิดทั้งสองที่มัก
สร้างความสับสนให้กับผู้ศึกษาเสมอ อันเกิดจากความสับสนในการใช้คำระหว่างคำว่า “ระบบ
อภิบาล” หรือ “Governance” และ “ธรรมาภิบาล” หรือ “Good Governance” อัมพร ธำรงลักษณ์
(2553) เห็นว่าคำว่า “Governance” ควรแปลว่า “การบริหารปกครอง” ในภาษาไทยยังไม่มี
คำแปลที่มีข้อสรุปชัดเจน เช่นเดียวกับคำว่า “Good Governance” ในทางวิชาการก็มีการแปลไว้
หลายคำเช่น “ธรรมาภิบาล” “การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี” “ประชารัฐ” หรือ “การกำกับ” 1
ส่วนเอก ตั้งทรัพย์วัฒนา (2547) ได้แปลคำว่า “Governance” เป็น “การจัดการปกครอง” และ
“Good Governance” ว่า “ธรรมาภิบาล” ซึ่งเขาเสนอว่าการทำความเข้าใจความหมายของ
“Governance” ควรจะแยกทำความเข้าใจระหว่าง “Governance” และ “Good Governance”
เนื่องจากการมีจริยธรรม (Moral) เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้แนวคิดระบบอภิบาล (Governance)
เปลี่ยนแปลงไปเป็นเรื่องของการวางระบบการบริหารจัดการที่ดี (Good Governance) หรือการมี
ระบบอภิบาลที่มีธรรมาภิบาล 2
1 อัมพร ธำรงลักษณ์. (2553). “การบริหารปกครองสาธารณะ: การบริหารรัฐกิจในศตวรรษที่ 21” ใน การบริหาร
ปกครองสาธารณะ (Public Governance) การบริหารรัฐกิจในศตวรรษที่ 21. น. 22.
2 เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา. (2547). “การศึกษาการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ: แนวทางการจัดการปกครอง” ใน
ประมวลสาระชุดวิชา 83703 การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ. น. 227