Page 64 - kpiebook65064
P. 64

14           โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
                           เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                                ดังนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจเบื้องต้นคำว่า “ระบบอภิบาล” หรือ

                   “Governance” หมายถึง สภาพการบริหารจัดการสถานการณ์หรือประเด็นปัญหาหนึ่ง ๆ ที่เป็นหรือ
                   ดำรงอยู่ในปัจจุบัน ส่วน “ธรรมาภิบาล” (Good Governance) หมายถึงสภาพการบริหารจัดการ

                   หรือประเด็นปัญหาที่ควรจะเป็นหรือที่ดี กล่าวอีกนัยหนึ่ง “ธรรมาภิบาล” หมายถึง “ระบบอภิบาล
                   ที่ดี” นั่นเอง

                           2.1.2 แนวคิดเกี่ยวกับระบบอภิบาล (Governance)


                                ในการศึกษาเกี่ยวกับระบบอภิบาล มีความสับสนในกระบวนการสร้างกรอบความคิด

                   (Conceptualization) ซึ่งระบบอภิบาลสามารถแบ่งออกเป็นสองความหมาย คือ ประการแรก
                   ระบบอภิบาลเป็นข้อบ่งชี้เชิงประจักษ์ในการปรับตัวของรัฐต่อสภาพแวดล้อมภายนอกที่เกิดขึ้นช่วง
                   ปลายศตวรรษที่ 20 ประการที่สอง ระบบอภิบาลเป็นตัวแทนของกรอบความคิดหรือทฤษฎีของ

                   การประสานงานกัน (Co-ordination) ของระบบทางสังคมและบทบาทของรัฐในกระบวนการ
                                      3
                   ประสานงานเหล่านั้น  โดยมุมมองของระบบอภิบาลสมัยใหม่ (Modern Governance) หรือระบบ
                   อภิบาลใหม่ (New Governance) ให้ความสำคัญว่ารัฐบาลกลางจะมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมเพื่อบรรลุ
                   การตัดสินใจซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกันได้อย่างไร หรือสังคมควรควบคุมทิศทางการกระทำต่าง ๆ ด้วย
                                                     4
                   ตัวเองแทนที่จะขึ้นกับการชี้นำจากรัฐ  ส่วน Paul Hirst (2000) เห็นว่าแนวคิด “ระบบอภิบาล”
                   ได้ถูกนำไปใช้ในความหมายที่แตกต่างกันใน 5 ขอบเขตการศึกษา คือ การพัฒนาเศรษฐกิจ
                   (Economic Development) สถาบันและกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ (International Institutions

                   and Regimes) ระบบอภิบาลของบรรษัทภิบาล (Corporate Governance) การจัดการ ภาครัฐแนว
                   ใหม่ (New Public Management) และวิถีปฏิบัติรูปแบบใหม่ของการทำกิจกรรมร่วมกัน (the New
                   Practices of Coordinating Activities) ผ่านเครือข่าย (Networks) พันธมิตร (Partnerships)

                   และการแสดงความเห็นเพื่อปรึกษาหารือ (Deliberative Forums)

                                แต่ถ้าพิจารณาการนิยามระบบอภิบาลในมุมมองภายใต้ขอบข่ายการศึกษา
                   การบริหารภาครัฐ (Public Administration) และนโยบายสาธารณะ (Public Policy) R.A.W.

                   Rhodes (1997) กล่าวว่าระบบอภิบาลหมายถึง การจัดองค์การด้วยตนเอง (Self-Organizing)
                   เครือข่ายระหว่างองค์การ (Interorganizational Network) ที่มีลักษณะการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

                                                                                                   5
                   การแลกเปลี่ยนทรัพยากร การวางกฎกติกา และการเป็นอิสระจากรัฐอย่างสำคัญ  ตั้งแต่
                   ทศวรรษ 1980 ได้เกิดกระแสแนวคิดการปฏิรูปการบริหารงานภาครัฐจากประเทศตะวันตก
                   กระแสการแปรรูปให้เป็นเอกชน การถ่ายโอนหลักการการจัดการของภาคเอกชนมาสู่การจัดการ

                   ภาครัฐ และการกระจายอำนาจทำให้กลไกของรัฐบาลส่วนกลางถูกกระจายมาสู่ระดับที่ต่ำกว่า หรือ

                          3  Pierre, J. (2000). Introduction: understanding governance. In Jon Pierre (Ed.), Debating governance:
                   Authority, steering and democracy. p. 3.
                          4  Peter, G. B. (2000). Governance and comparative politics. In Jon Pierre (Ed.), Debating governance:
                   Authority, steering and democracy. p. 36.
                          5  Rhodes, R.A.W. (1997). Understanding governance: policy network, governance, reflexivity and
                   accountability. p. 15.



                   บทที่ 2
                   สถาบันพระปกเกล้า
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69