Page 127 - kpi12626
P. 127
11 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
อย่างไรก็ดี การที่เทศบาลเมืองเก่ามุ่งจัดบริการสาธารณะเพียงเท่าที่
จำเป็น มีเงินสะสมและสภาพคล่องทางการเงินที่สูง ย่อมส่งผลทางกลับกัน
(trade-off) ที่อาจทำให้บริการของเทศบาลไม่เพียงพอหรือไม่อาจแก้ไขปัญหา
เร่งด่วนของประชาชนได้อย่างทันท่วงที ในด้านนโยบายการใช้จ่ายนั้น
เทศบาลมักไม่ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณให้เต็มตามวงเงินที่ได้รับอนุมัติ
จากสภาเทศบาล แต่พยายามให้มีเงินงบประมาณเหลือในแต่ละปีราว
ร้อยละ 20 ขึ้นไป ส่วนในด้านนโยบายการระดมทรัพยากรนั้น เทศบาล
24
ไม่นิยมก่อหนี้ระยะยาวเพื่อนำเงินมาลงทุนจัดบริการสาธารณะหรือพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานให้ทันต่อการขยายตัวของเมืองและชุมชน แต่กลับดำเนิน
25
โครงการลงทุนเพียงเท่าที่รายได้ประจำ (recurrent revenue) ในแต่ละปี
จะเอื้ออำนวยให้ ในกรณีที่จำเป็น เทศบาลจะนำเงินสะสมออกมาใช้จ่ายเป็น
ครั้งคราว ดังนี้เป็นต้น
ในกรณีที่จำเป็นต้องการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่นั้น
เทศบาลนิยมใช้วิธีขอรับเงินอุดหนุนจากส่วนกลางก่อนเป็นลำดับแรก อาทิ
ในการที่จะรับมือกับปัญหาน้ำท่วมให้ได้อย่างยั่งยืนนั้น เทศบาลจะต้อง
พัฒนาระบบระบายน้ำรอบเมืองและต้องใช้งบประมาณเพื่อการลงทุนนี้ราว
200 ล้านบาทเศษ (ราว 2 เท่าเศษของงบประมาณรายจ่ายประจำปี) ในเรื่องนี้
คณะผู้บริหารของเทศบาลได้ขอรับการสนับสนุนทางงบประมาณจากรัฐบาล
ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2553 ที่ผ่านมา เทศบาลและประชาชนในพื้นที่
จึงต้องรอผลการตัดสินใจจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องซึ่งคาดว่าจะใช้เวลา
อย่างน้อยราว 2-3 ปีกว่าที่หน่วยงานเหล่านั้นจะพิจารณาให้เงินอุดหนุนโดย
การจัดสรรให้ผ่านงบประมาณแผ่นดิน ใช้เวลาอีกราว 1 ปีในการออกแบบ
และจัดหาผู้รับเหมา และใช้เวลาก่อสร้างอีกราว 2 ปีเศษ รวมทั้งสิ้นเป็นเวลา
กว่า 6 ปีที่คาดว่าปัญหาเร่งด่วนของประชาชนในเรื่องนี้จะได้รับการแก้ไข
ให้ลุล่วง
24 บทสัมภาษณ์จากผู้อำนวยการกองคลัง เทศบาลเมืองเก่า วันจันทร์ที่ 31 มกราคม
2554 เวลา 10.00-11.45 น.
25 อ้างแล้ว