Page 129 - kpi12626
P. 129
11 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
“เทศบาลไม่ใช่ภาคเอกชน ไม่ได้มุ่งแสวงหากำไร หากเราทำอะไรแล้ว
ตอบสนองต่อประชาชนได้ เราก็ทำตามควร....ส่วนในกรณีของการ
ลงทุนขนาดใหญ่นั้น เรามีนโยบายไม่กู้เงิน แม้ว่าจะมีธนาคารพาณิชย์
หลายแห่งมาเสนอเงินกู้ให้เราก็ตาม หากอะไรซื้อเงินสดได้เราจะซื้อ
หรือรอเก็บเงินสะสมไว้มากพอแล้วค่อยซื้อค่อยลงทุน หรือไม่ก็ขอ
เงินอุดหนุนจากส่วนกลางแทน” (สัมภาษณ์วันจันทร์ที่ 31 มกราคม
2554 เวลา 10.00-11.45 น.)
อย่างไรก็ดี ประเด็นที่ผู้บริหารเทศบาลเมืองเก่าอาจมองข้ามไปก็คือ
การที่เทศบาลมิใช่หน่วยธุรกิจเอกชนมิได้หมายความว่าเทศบาลไม่มีความ
จำเป็นที่จะต้องบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ หรือไม่จำเป็นที่จะต้อง
ตอบสนองต่อความต้องการเร่งด่วนของประชาชนในช่วงเวลาที่เหมาะสม
นอกจากนี้ การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินของเทศบาลมิได้หมายความว่าจะ
ต้องกระทำเพื่อการแสวงหากำไรดังเช่นภาคเอกชน หากแต่สามารถนำมาใช้
เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยประเมินสภาพคล่องทางการเงินของเทศบาลทั้งระยะ
สั้นและระยะยาว และสามารถให้ข้อมูลที่สำคัญสำหรับการตัดสินใจเกี่ยวกับ
นโยบายการจัดบริการสาธารณะและการก่อหนี้ของเทศบาลได้
ด้วยเหตุนี้ การที่ข้อมูลทางการเงินการบัญชีมิได้ถูกใช้ประโยชน์อย่าง
รอบด้านส่งผลให้เทศบาลเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่ไป
อย่างน่าเสียดาย การบริหารงานคลังตามความเคยชินหรือตามแนวปฏิบัติ
เดิมๆ อาจส่งผลให้เทศบาลมิได้ใช้ทรัพยากรทางการเงินการคลังที่มีอยู่ไปใน
การจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนอย่างเต็มศักยภาพ และกลาย
เป็นการจำกัดประเด็นความสนใจของผู้บริหารท้องถิ่นอยู่เพียงเฉพาะการ
รักษาวินัยทางการเงินการคลังและการบริหารสภาพคล่องในระยะสั้นที่อาจ
มากเกินพอดี จนส่งผลเสียต่อความเข้มข้นและความเพียงพอในการจัด
บริการสาธารณะให้แก่ประชาชนโดยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ กรณีตัวอย่าง
เทศบาลเมืองเก่านี้น่าจะมีความคล้ายคลึงกับแนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นในการ
บริหารการเงินการคลังขององค์กรปกครองท้องถิ่นของไทยอีกเป็นจำนวน
มาก และย่อมสะท้อนให้เห็นได้ว่ากรอบวิเคราะห์ฐานะทางการเงินทั้ง 4 มิติ