Page 134 - kpi12626
P. 134

การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:    123


                        นอกจากนี้ เทศบาลเมืองนกมีความยั่งยืนทางการเงินระยะยาว
                  ในระดับปานกลาง มีอัตราส่วนสินทรัพย์สุทธิเท่ากับ 0.44 มีสัดส่วนหนี้สิน

                  รวมต่อเงินสะสมประมาณ 8.63 เท่า และมีภาระหนี้ระยะยาวต่อรายรับรวม
                  เท่ากับร้อยละ 10.67 หรือคิดเป็นภาระหนี้ระยะยาวต่อประชากรเท่ากับ
                  985.18 บาท อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าเทศบาลเมืองนกจะมีสภาพคล่องในระยะ
                  สั้นที่ไม่สูงมากนักและมีภาระหนี้ระยะยาวในสัดส่วนที่มากพอควร แต่ระดับ  คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                  ความเพียงพอของการให้บริการของเทศบาลอยู่ในระดับที่ดีเมื่อเปรียบเทียบ

                  กับเทศบาลกลุ่มตัวอย่าง กล่าวคือ เทศบาลเมืองนกมีมูลค่าการลงทุนใน
                  สินทรัพย์ถาวรคิดเป็น 15,645.4 บาทต่อประชากรในปีงบประมาณ 2552
                  หรือหากพิจารณามูลค่าทรัพย์สินถาวรต่อประชากรต่อปีนับตั้งแต่ปีที่จัดตั้ง
                  เทศบาลแล้ว (จัดตั้งปี พ.ศ.2479) จะมีมูลค่าเท่ากับ 15,645.4 — 73 = 214.3
                  บาทต่อประชากรต่อปี (เทศบาลเมืองเก่ามีค่า 132.9 บาทต่อประชากรต่อปี)

                        ส่วนภาระภาษีท้องถิ่นของเทศบาลเมืองนกเท่ากับ 1,369.5 บาท

                  ต่อประชากร ในขณะที่เทศบาลขนาดใกล้เคียงกันมีระดับภาษีท้องถิ่น
                  ต่อประชากรโดยเฉลี่ย 1,143.62 บาท นอกจากนี้ ดัชนีชี้วัดการจัดบริการ
                  สาธารณะจากขนาดของรายจ่ายต่อประชากรของเมืองนกจะเท่ากับ 8,962.6
                  บาทในปีงบประมาณ 2552 และสำหรับสัดส่วนประชากรต่อพนักงาน
                  เทศบาลเมืองนกเท่ากับ 73.11 คนต่อพนักงาน ซึ่งค่าเฉลี่ยของเทศบาลขนาด
                  ใกล้เคียงกันเท่ากับ 89.99 คน จึงสามารถตีความได้ว่าพนักงานเทศบาล

                  เมืองนกสามารถดูแลให้บริการแก่ประชาชนได้ทั่วถึงมากกว่าเทศบาลกลุ่ม
                  ตัวอย่างทั่วไป (และมากกว่าเทศบาลเมืองเก่าอย่างชัดเจน)

                        ในอดีตที่ผ่านมา ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในชุมชนเมืองนกได้แก่
                  ปัญหาน้ำท่วมขังในฤดูฝนและถนนชำรุดเสียหาย ทั้งนี้เหตุการณ์น้ำท่วมที่
                  รุนแรงที่สุดในเมืองนกเกิดขึ้นราวปี พ.ศ.2549 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว
                  เทศบาลได้นำเงินสะสมช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยและพื้นฟูความ
                  เสียหายเป็นจำนวนเงินกว่า 10 ล้านบาท และจากเหตุการณ์ดังกล่าว

                  เทศบาลจึงได้ก่อสร้างคันกั้นน้ำรอบพื้นที่เทศบาลและได้พัฒนาระบบระบาย
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139