Page 163 - kpi12626
P. 163
1 2 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
สามารถของท้องถิ่นในการให้บริการสาธารณะหรือในการแก้ไขปัญหาของ
ประชาชนแล้ว ท้องถิ่นจะระดมทรัพยากรจากแหล่งใดได้บ้าง มีเงินสะสม
เพียงพอหรือไม่ หรือจำเป็นต้องหาจากแหล่งเงินทุนภายนอก และ (4) หาก
ท้องถิ่นจำเป็นต้องระดมทรัพยากรจากตลาดเงินหรือตลาดทุน ท้องถิ่นจะมี
ขีดความสามารถในการก่อหนี้ได้มากน้อยเท่าใด เป็นต้น
นอกจากนี้แล้ว ควรมีการพัฒนาทักษะและความรู้ความเข้าใจให้
แก่ผู้บริหารท้องถิ่นในการใช้ข้อมูลการเงินการบัญชีและการ
งบประมาณ เพื่อการวางแผนและตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการเงิน
การคลังและการจัดบริการสาธารณะให้เหมาะสมกับบริบทแวดล้อม
ทางสังคมและเศรษฐกิจและสอดคล้องกับความคาดหวังของ
ประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การศึกษาในครั้งนี้พบว่าผู้บริหารท้องถิ่นส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจ
ในด้านการบริหารการเงินการบัญชีและการบริหารงบประมาณ และ
ไม่สามารถติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวรอบตัวในด้านเศรษฐกิจ
และสังคมในระดับที่สามารถนำมาสู่การกำหนดมาตรการรับมือด้านการเงิน
การคลังให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้
ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาให้ผู้บริหารท้องถิ่นทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่าย
ประจำมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวร่วมกันจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
เพื่อสามารถนำพาให้ท้องถิ่นทำงานในเชิงรุกเพื่อการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของ
ประชาชนบนพื้นฐานของความเข้มแข็งทางด้านการเงินการคลังขององค์กร
ความรู้ที่จำเป็นในเรื่องนี้อาจรวมถึง (1) การวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจสังคม
และการกำหนดนโยบายการคลังและงบประมาณของท้องถิ่น (2) การ
วางแผนยุทธศาสตร์และการจัดทำงบประมาณ (3) การเพิ่มประสิทธิภาพใน
การบริหารจัดเก็บภาษีและรายได้ท้องถิ่น (4) แนวปฏิบัติในการก่อหนี้เพื่อ
การลงทุน และช่องทางในการระดมทุน (5) การบริหารการเงิน สินทรัพย์
การจัดซื้อจัดจ้าง และการพัสดุ (6) การตรวจสอบผลการดำเนินงานด้าน