Page 161 - kpi12626
P. 161

1 0 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:


          คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อีกทั้งมิได้สนใจว่าจะช่วยเสริมสร้างความ
                เข้มแข็งให้กับฐานะทางการเงินการคลังและการดำเนินงานขององค์กร

                ปกครองส่วนท้องถิ่นแต่อย่างใด ส่วนราชการเหล่านี้จึงยังมิได้มีส่วนช่วย
                พัฒนาระบบการบริหารงานคลังท้องถิ่นที่จำเป็น อาทิ มาตรฐานการเงินการ
                บัญชีและการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระบบตรวจสอบ
                ติดตามผลด้านการเงินการบัญชีและการบริหารจัดการขององค์กรปกครอง
                ส่วนท้องถิ่น หรือแม้แต่ระบบติดตามผลฐานะทางการเงินท้องถิ่นที่เป็น

                เนื้อหาหลักของหนังสือเล่มนี้ ฯลฯ เป็นที่น่าเสียดายว่าในช่วงที่ผ่านมานั้น
                ส่วนราชการเหล่านี้ต่างมุ่งแสดงบทบาทของการเป็นผู้คุมกฎ (regulator)
                ที่เข้มงวดเกินควร จนบ่อยครั้งทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดแรงจูงใจ
                ในการปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการแก่ประชาชนอย่างเต็มที่ตามศักยภาพ
                ขององค์กรที่มีอยู่

                      ในการนี้จึงควรมีการปรับบทบาทและความสัมพันธ์ทางการคลัง

                (intergovernmental fiscal relationships) ระหว่างส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งกับ
                องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกื้อหนุนให้ (1) ท้องถิ่นสามารถปฏิบัติงานได้
                อย่างเป็นอิสระและปราศจากซึ่งแรงกดดันด้านการเงินหรือจากข้อกำหนด
                ควบคุมที่ไม่จำเป็น (2) หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องควรแสดงบทบาทเป็นเพียง
                ผู้ที่กำกับดูแล ให้คำแนะนำ และตรวจสอบผลการดำเนินงานของท้องถิ่นทั้ง
                ในเชิงประสิทธิภาพประสิทธิผลในการบริหารจัดการและในด้านความถูกต้อง

                ของการดำเนินงาน (3) ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องควรกำหนดมาตรการส่งเสริม
                หรือจูงใจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลทุกข์สุขของ
                ประชาชนอย่างสุดความสามารถทางการเงินการคลัง มีการพัฒนาระบบ
                ข้อมูล ระบบปฏิบัติการ หรือมาตรการป้องกันและกำกับดูแลตามจำเป็นเพื่อ
                มิให้การปฏิบัติงานของท้องถิ่นก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรของ

                สาธารณะ และ (4) ส่วนราชการที่รับผิดชอบควรทำหน้าที่ส่งสัญญาณในการ
                บริหารการเงินการคลังที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมให้แก่องค์กรปกครองส่วน
                ท้องถิ่นได้รับทราบและเตรียมการรับมือหรือปรับตัวต่อสถานการณ์ต่างๆ ได้
                เป็นการล่วงหน้าโดยอาจใช้ข้อมูลระบบ LFMS ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น
   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166