Page 159 - kpi12626
P. 159
1 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
8.2.5 การปรับบทบาทของราชการส่วนกลางและภูมิภาค
เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งทางการคลังท้องถิ่น
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นในครั้งนี้ทำให้พบกับข้อเท็จจริงที่สำคัญประการหนึ่งว่าองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นมีสถานะทางการเงินการคลัง (fiscal entity) และมีตัวตน
ทางบัญชี (accounting entity) เป็นของตนเอง ซึ่งแตกต่างไปจากส่วนราชการ
ทั่วไปที่มีฐานะเป็นเพียงหน่วยปฏิบัติการหนึ่งของรัฐบาลที่ไม่จำเป็นต้องดูแล
รับผิดชอบฐานะทางการเงินการคลังของตนเอง องค์กรปกครองท้องถิ่นแต่ละ
แห่ง (ซึ่งมีจำนวนเกือบแปดพันแห่งในปัจจุบัน) ล้วนมีอิสระและมีฐานะ
ทางการเงินการคลังของตนเองที่ต้องรับผิดชอบตามแต่สภาพบริบทพื้นฐาน
และนโยบายบริหารการเงินการคลังที่มิได้ขึ้นต่อกันและกัน มีการระดม
ทรัพยากรของตนเองในรูปภาษีอากรและรายได้อื่นๆ (แม้ว่าจะมีสัดส่วนที่ไม่
สูงนักก็ตาม) และรวมถึงการมีอิสระในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายของ
ตนเองที่ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับบริบทพื้นฐานและความต้องการ
เร่งด่วนของประชาชนในชุมชน
ดังนั้นส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจึงควรปรับเปลี่ยนฐานคิด
ที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยควรคำนึงถึงความเป็นอิสระใน
การบริหารงานของท้องถิ่นภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย และจำเป็น
จะต้องพัฒนาแนวทางสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแลองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นเป็นการเฉพาะ โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้
กฎเกณฑ์หรือมาตรฐานเดียวกันกับราชการส่วนกลางเสมอไป ความ
เป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรนำไปสู่การมีแนวปฏิบัติเฉพาะ
ด้านที่เกื้อหนุนต่อการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในชุมชน
ท้องถิ่นโดยตรง (มิใช่ตอบสนองต่อความต้องการและ/หรือการสั่งการของ
ราชการส่วนกลาง) ซึ่งควรครอบคลุมถึงความเป็นอิสระในด้าน (1) การจัด
ทำแผนพัฒนาและแผนการดำเนินงานของท้องถิ่น (2) การบริหารการเงิน
การบัญชี การงบประมาณ และการก่อหนี้เพื่อการลงทุน (3) อำนาจทางภาษี