Page 164 - kpi12626
P. 164
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: 1 3
การเงินการบัญชีและการบริหารจัดการ (7) การวิเคราะห์ฐานะทางการเงิน
และการพัฒนาระบบข้อมูลการเงินการบัญชีเพื่อการวางแผนและการตัดสินใจ
และ (8) การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงด้านการเงินการคลังและกลยุทธ์ในการลด
ความเสี่ยง เป็นต้น
ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบัน
พระปกเกล้า สมาคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถาบันการศึกษา
ควรร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ที่จำเป็นและนำไปถ่ายทอดให้กับผู้บริหารและ
บุคลากรขององค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อให้ผู้บริหารและบุคลากรมีทัศนคติที่
ถูกต้องและมีความรู้ความเข้าใจที่จำเป็นเพียงพอสำหรับการบริหารงานคลัง
ท้องถิ่นในยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับ (1) การตอบสนองต่อความต้องการ
เร่งด่วนของประชาชน (2) การรักษาวินัยทางการเงินการคลัง และ (3) การใช้
31
จ่ายทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ได้ต่อไป
กล่าวโดยสรุป ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าการวิเคราะห์ฐานะทางการเงิน
ท้องถิ่นเปรียบเสมือนกับ “ปรอทวัดไข้” ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อให้ผู้บริหารสามารถติดตามอาการเจ็บป่วยทางการบริหาร (administrative
symptom) ขององค์กร ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายจัดบริการสาธารณะและการ
บริหารการเงินการคลังได้ หากผู้บริหารท้องถิ่นสามารถใช้ผลการวิเคราะห์
ฐานะทางการเงินการคลังได้ดังที่หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอไว้แล้ว ย่อมนำไปสู่
การเปิดมิติและมุมมองใหม่ๆ ในการเพิ่มศักยภาพด้านการบริหารการเงิน
การคลังให้กับองค์กรของตนเอง ความสำคัญในเรื่องนี้จึงอยู่ที่การปรับ
กระบวนทัศน์ (mindset) และการเปิดรับมุมมองใหม่ๆ ในการบริหารงาน
ท้องถิ่นโดยการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินการคลังเพื่อนำไปสู่
การตอบคำถามที่สำคัญทางการบริหารว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะ
สามารถดูแลทุกข์สุขของประชาชนหรือจัดบริการสาธารณะเพิ่มขึ้นและให้
31 แนวคิดดังกล่าวได้มาจาก จรัส สุวรรณมาลา (2546) และ Allen Schick (1998)