Page 158 - kpi12626
P. 158
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: 1
ด้านต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเหมาะสมหรือมี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากน้อยเพียงใด ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนเห็นว่าหาก
ต้องการเพิ่มศักยภาพทางการเงินการคลังท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืนแล้วนั้น ควร
มีการพัฒนาแนวทางการตรวจสอบด้านการบริหารจัดการขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น (local management audit) ให้เกิดขึ้นอย่างเป็น
ระบบและถูกนำไปใช้จริงต่อไป คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
ประเด็นในการตรวจสอบด้านการบริหารจัดการอาจรวมถึง
การวิเคราะห์ (1) ความจำเป็นเร่งด่วนของนโยบายและยุทธศาสตร์
การพัฒนาท้องถิ่น (Policy Priorities) (2) แผนการจัดบริการสาธารณะและ
การลงทุนของเทศบาล (3) นโยบายการเงินการคลัง การบัญชี และการ
งบประมาณท้องถิ่น (4) นโยบายการก่อหนี้และการรักษาวินัยทางการเงิน
การคลัง (5) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร
บุคคลและสินทรัพย์ถาวร (6) ความคุ้มค่า ต้นทุน และ/หรือประสิทธิภาพ
ประสิทธิผลของการใช้จ่ายงบประมาณท้องถิ่น และ (7) เหตุผลความจำเป็น
ในการกำหนดกฎระเบียบทางการเงินการคลังและการงบประมาณท้องถิ่น
ด้านต่างๆ เป็นต้น
ในการดำเนินการเช่นนี้ มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาชุด
ของทักษะและองค์ความรู้ของผู้ตรวจสอบทั้งภายนอก (สตง. และกรมส่ง
เสริมการปกครองท้องถิ่น) และภายใน (หน่วยตรวจสอบภายในของท้องถิ่น)
ที่มีความแตกต่างไปจากการตรวจสอบทางการเงินการบัญชีที่คุ้นเคยกันมา
แต่เดิม มีการปรับปรุงบทบาทของหน่วยตรวจสอบให้เกิดความสมดุล
ระหว่างการตรวจสอบทางการเงินการบัญชีและการตรวจสอบในเชิงบริหาร
จัดการ นอกจากนี้ ควรเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholders) ในกิจการ
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาทิ สถาบันทางการเงิน ภาคประชาสังคม
หรือภาควิชาการ ฯลฯ เข้าร่วมในการตรวจสอบด้านต่างๆ อย่างเข้มข้นและ
เปิดกว้างต่อไป