Page 162 - kpi12626
P. 162
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: 1 1
8.3 ข้อเสนอแนะในการพัฒนาศักยภาพ
ในการบริหารการเงินและงบประมาณ
สำหรับผู้บริหารท้องถิ่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะที่เป็นหน่วยปฏิบัติการในการจัด
บริการสาธารณะประเภทหนึ่งจำเป็นต้องมีการตรวจสอบติดตามผลการ คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
ดำเนินงานด้านการเงินขององค์กรตนเองอย่างใกล้ชิด คณะผู้บริหารของ
ท้องถิ่นทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายประจำในฐานะที่เป็นผู้ที่รับผิดชอบต่อความ
อยู่รอดและความเจริญเติบโตขององค์กรและของชุมชนท้องถิ่น จำเป็นจะ
ต้องดูแลเอาใจใส่การบริหารจัดการด้านการเงินการคลังและการจัดบริการ
สาธารณะเพิ่มขึ้น ที่ผ่านมานั้น ผู้บริหารท้องถิ่นมักจะมีทัศนคติว่าการบริหาร
การเงินการบัญชีเป็นประเด็นปลีกย่อย เป็นเรื่องในทางปฏิบัติ จึงปล่อยให้
เป็นธุระของเจ้าหน้าที่ระดับล่างที่ดำเนินการและดูแลข้อมูลต่าง ๆ กันเอง
การมีทัศนคติเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นในยุคปัจจุบันที่ความ
คาดหวังของประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น
ตลอดเวลา
ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นให้ผู้บริหารท้องถิ่น
หมั่นตรวจสอบติดตามฐานะทางการเงินขององค์กรอยู่เป็นประจำ
และสร้างให้เป็นวัฒนธรรมการทำงานยุคใหม่ของท้องถิ่นที่มุ่งคำนึงถึง
การดูแลทุกข์สุขของประชาชนอย่างเต็มศักยภาพ โดยใช้ประโยชน์
จากข้อมูลต่าง ๆ ของท้องถิ่นที่มีอยู่อย่างรอบด้าน ในการนี้ ผู้บริหาร
ท้องถิ่นควรหมั่นติดตามว่า (1) การบริหารสภาพคล่องทางการเงินขององค์กร
เป็นเช่นใด มีเงินสด (รวมเงินฝากต่างๆ) เพียงพอสำหรับการให้บริการของ
ท้องถิ่นในเชิงรุกเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ (2) หากพบว่าท้องถิ่นมีสภาพคล่อง
ทางการเงินที่ตึงตัว จะมีมาตรการเพิ่มรายได้ในช่วงสั้น ๆ อย่างไร ควรมีการ
จัดเก็บค่าบริการประเภทใหม่หรือเร่งรัดติดตามลูกหนี้ภาษีท้องถิ่นหรือไม่
(3) หากมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาโครงการลงทุนเพื่อเพิ่มขีดความ