Page 28 - kpi12626
P. 28
ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นถือเป็นองค์กรที่มีหน้าที่สำคัญในการจัด
บริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของ
ประชาชน การที่องค์กรเหล่านี้มีฐานะทางการเงินการคลังที่
เข้มแข็งย่อมเป็นหลักประกันถึงความต่อเนื่องในการจัดบริการ
สาธารณะให้แก่ประชาชนในระดับฐานราก และทำให้เกิด
ความมั่นใจได้ว่าท้องถิ่นจะสามารถชำระหนี้และภาระรายจ่าย
เพื่อการจัดบริการด้านต่างๆ ได้ในอนาคต ในประเด็นนี้
Honadle et al. (2004) และ Wang (2006) ได้กล่าวไว้ว่าผู้บริหาร
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรประเมินฐานะทางการเงิน
การคลังขององค์กรตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทราบถึง
แนวโน้มของปัญหาในการบริหารการเงินการคลังและการจัด
บริการสาธารณะที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นการล่วงหน้า และสามารถ
กำหนดมาตรการรับมือก่อนที่จะเกิดปัญหาทางการเงิน
การคลังลุกลามใหญ่โตตามมาได้อย่างทันการณ์
เนื้อหาในบทนี้จึงเป็นการนำเสนอกรอบการวิเคราะห์
ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยใช้ดัชนี
ชี้วัดทางการเงินใน 4 มิติ (a four-dimensional financial ratio
analysis) ซึ่งประกอบไปด้วยการวิเคราะห์ (1) ความสามารถใน
การบริหารสภาพคล่อง (cash solvency) ซึ่งให้ความสำคัญกับ
สภาพคล่องทางการเงิน (liquidity) และความสามารถในการ
ชำระหนี้ในระยะสั้น (2) ความยั่งยืนทางงบประมาณ (budget
solvency) ได้แก่การมีทรัพยากรที่เพียงพอสำหรับใช้จ่ายในการ
จัดบริการสาธารณะภายในรอบปีงบประมาณ (3) ความยั่งยืน
ทางการเงินในระยะยาว (long-term solvency) ได้แก่ความ
สามารถในการชำระหนี้เงินกู้และภาระผูกพันทางการเงินใน
ระยะยาว และ (4) ความเพียงพอของการให้บริการสาธารณะ