Page 29 - kpi12626
P. 29
1 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
(service-level solvency) ได้แก่ความสามารถในการจัดบริการสาธารณะตามที่
ประชาชนต้องการได้อย่างเพียงพอ ดังมีรายละเอียดที่จะนำเสนอดังต่อไปนี้
2.1 ความหมายและหลักการพื้นฐาน
ของการวิเคราะห์ฐานะทางการเงิน
ในการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(local financial position analysis) นักวิชาการหลายท่านเลือกใช้กรอบ
วิเคราะห์และเครื่องมือชี้วัดที่ต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่มีมุมมองที่ตรงกัน
ว่าการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินเป็นเครื่องมือทางการบริหารที่สำคัญที่ช่วย
ประเมินว่าองค์กรท้องถิ่นแห่งหนึ่งๆ มีศักยภาพทางการเงินการคลังเพียงพอ
ต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้อย่างยั่งยืนหรือไม่ ดังเช่น Howell and
Stamm (1979) ให้ความสำคัญกับการประเมินขีดความสามารถในการจัดเก็บ
รายได้ (revenue performance) ระดับการใช้จ่าย (spending performance)
และภาระหนี้ระยะยาว (debt performance) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ส่วน Wang (2006) เห็นว่าการประเมินฐานะทางการเงินของท้องถิ่นควรใช้
ทฤษฏีระบบ (system model) ซึ่งแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 3 ด้านได้แก่
ปัจจัยนำเข้า (financial input monitoring) ปัจจัยด้านกระบวนการ (financial
process monitoring) และปัจจัยนำออก (financial result monitoring) โดยจะ
ประเมินว่าการใช้ทรัพยากรทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในแต่ละด้านเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากน้อยเพียงใด
Groves and Valente (1994) และ Miller (2001) เห็นว่าการวิเคราะห์
ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองท้องถิ่นควรมีมิติการประเมิน
(dimension) ใน 4 ด้านได้แก่ ความยั่งยืนทางการเงินในระยะสั้น (cash
solvency) ความยั่งยืนทางงบประมาณ (budgetary solvency) ความยั่งยืน
ทางการเงินในระยะยาว (long-run solvency) และความเพียงพอของการให้
บริการ (service-level solvency) โดยที่ถ้าหากมิได้วิเคราะห์ผลทางการเงินให้
ครบทุกด้านแล้ว อาจมีความเป็นไปได้ที่องค์กรปกครองท้องถิ่นจะปรับแต่ง
ตัวเลขฐานะทางการเงินในระยะสั้นให้ดูดีขึ้นโดยการปรับลดปริมาณและ/