Page 30 - kpi12626
P. 30
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: 1
หรือคุณภาพของการบริการลง ในกรณีเช่นนี้ฐานะทางการเงินที่ดูดีย่อมไม่มี
ประโยชน์อันใดต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการให้
บริการสาธารณะอย่างทั่วถึงและเพียงพอ มิหนำซ้ำยังก่อให้เกิดผลเสียต่อ
ประชาชนในการขาดโอกาสที่จะได้รับบริการที่มีคุณภาพและ/หรือในปริมาณ
ที่เป็นที่ต้องการ
นักวิชาการด้านการคลังท้องถิ่นของไทยก็มีมุมมองที่คล้ายคลึงกัน คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
กับนักวิชาการต่างประเทศ อาทิ จรัส สุวรรณมาลา (2542) กล่าวว่าการ
วิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรภาครัฐควรประกอบไปด้วยการ
วิเคราะห์สภาพคล่อง (liquidity) ความเพียงพอของการให้บริการสาธารณะ
(service adequacy) ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (operational efficiency)
และความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาว (financial stability) ส่วนอุดม ทุมโฆสิต
(2545) กล่าวไว้ว่าการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินควรช่วยให้ทราบว่าองค์กร
ปกครองท้องถิ่นมีความเข้มแข็งทางการเงินสำหรับการจัดบริการได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ (efficiency) เสมอภาค (equality) มีความยั่งยืนในการดำเนินการ
(sustainability) และสามารถตรวจสอบได้ (accountability) หรือไม่อย่างไร ดังนี้
เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินในหนังสือเล่มนี้
หมายความถึงการประเมินว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสามารถใน
การบริหารสภาพคล่องทางการเงินในระยะสั้นหรือไม่ สามารถบริหาร
งบประมาณได้อย่างสมดุลหรือไม่ มีความสามารถในการชำระหนี้และภาระ
ผูกพันในระยะยาว และสามารถใช้ทรัพยากรทางการเงินที่มีอยู่ในการจัด
บริการสาธารณะให้แก่ประชาชนได้อย่างเพียงพอหรือไม่ เหตุผลที่ผู้เขียนใช้
คำนิยามฐานะทางการเงินที่มีความหมายรวมถึงความเพียงพอของการให้
บริการสาธารณะเป็นเพราะว่าได้ให้ความสำคัญกับการประเมินผลการ
ดำเนินงานทางการเงินขององค์กรปกครองท้องถิ่นที่รอบด้านและคำนึงถึง
ขอบเขตภารกิจการให้บริการสาธารณะอย่างเพียงพอ โดยที่มิได้พิจารณา
จำกัดเฉพาะการบริหารจัดการด้านการเงินภายในองค์กรในช่วงเวลาสั้นๆ แต่
เพียงมิติเดียว