Page 24 - kpi12626
P. 24

การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:    13


                        ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับกรณีตัวอย่างในเชิงลึก (in-depth case study) ได้มา
                  จากข้อมูลจากเอกสารทางราชการและของเทศบาล และข้อมูลจากการ

                  สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องของเทศบาลที่เป็นกรณีตัวอย่างจำนวน 2 แห่ง
                  ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มความหมายในเชิงลึกให้กับผลการวิเคราะห์ฐานะ
                  ทางการเงินในเชิงปริมาณ และเพื่อต้องการนำเสนอให้เห็นว่าผลการ
                  วิเคราะห์ฐานะทางการเงินโดยการใช้ดัชนีชี้วัดทางการเงินด้านต่างๆ        คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจทางการบริหารของ

                  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างไร สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับระเบียบ
                  วิธีวิจัยในครั้งนี้สามารถอ่านได้จากภาคผนวกที่ 1 ด้านท้ายของหนังสือเล่มนี้
                  1.4 หนังสือเล่มนี้มีอะไร?


                        หนังสือเล่มนี้ต้องการนำเสนอแนวคิดและวิธีการประยุกต์ใช้เครื่องมือ
                  การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ได้

                  ข้อมูลที่สำคัญสำหรับใช้ในการวางแผนการจัดบริการสาธารณะและการ
                  วางแผนทางการเงินการคลังและงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                  ที่สามารถนำไปสู่การตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่าง
                  เพียงพอและเกิดความยั่งยืน หนังสือเล่มนี้จึงต้องการนำเสนอด้วยภาษา
                  ที่เข้าใจได้ง่ายสำหรับผู้บริหารท้องถิ่นและผู้ที่สนใจทั่วไป

                        เนื้อหาในบทแรกเป็นการนำเสนอถึงเหตุผลความจำเป็นในการ

                  วิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื้อหาในบทที่ 2
                  เป็นการนำเสนอหลักการพื้นฐานและกรอบวิเคราะห์ฐานะทางการเงิน
                  การคลังของท้องถิ่นใน 4 มิติ ซึ่งประกอบไปด้วยการวิเคราะห์สภาพคล่อง
                  ทางการเงินในระยะสั้น (cash solvency) การวิเคราะห์ความยั่งยืนทาง
                  งบประมาณ (budget solvency) การวิเคราะห์ความยั่งยืนทางการเงินใน

                  ระยะยาว (long term solvency) และการวิเคราะห์ความเพียงพอของการให้
                  บริการสาธารณะ (service-level solvency)
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29