Page 33 - kpi12626
P. 33
22 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
2.2 การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน
ในระยะสั้น (Cash Solvency)
ในมิติแรกจะพิจารณาถึงสภาพคล่องทางการเงินในระยะสั้น
(น้อยกว่า 1 ปี) เนื่องจากจะสามารถบอกถึงขีดความสามารถขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นในการชำระหนี้และภาระผูกพันต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระยะสั้น
การวิเคราะห์ในประเด็นนี้มีความสำคัญเพราะถ้าหากองค์กรปกครองท้องถิ่น
ไม่สามารถบริหารเงินสด (หรือสิ่งที่ใกล้เคียงเงิน—cash equivalence) ให้เพียงพอ
สำหรับการใช้จ่ายเพื่อการดำเนินภารกิจประจำวันของท้องถิ่นแล้ว
ย่อมส่งผลให้การให้บริการสาธารณะหรือการดำเนินงานด้านต่างๆ เกิดการ
สะดุดหรือติดขัดลงได้ ดัชนีชี้วัดทางการเงินในมิตินี้ประกอบไปด้วย
ตารางที่ 2-1 ดัชนีชี้วัดสำหรับการวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน
ดัชนีชี้วัด วิธีการคำนวณ ความหมาย
1. อัตราส่วน สัดส่วนระหว่างสินทรัพย์ ค่าดัชนีสะท้อนถึงสัดส่วนสินทรัพย์หมุนเวียน
ทุนหมุนเวียน หมุนเวียนต่อหนี้สินหมุนเวียน ต่อหนี้สินหมุนเวียน ค่าดัชนีที่สูงสะท้อนถึง
(Current Ratio) หรือ Current Assets / Current สภาพคล่องที่สูงและมีขีดความสามารถใน
Liabilities การชำระหนี้ระยะสั้น
2. อัตราส่วนเงินสด สัดส่วนระหว่างเงินสดและ ค่าดัชนีสะท้อนถึงขีดความสามารถในการ
(Cash Ratio) สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง ชำระหนี้ในระยะสั้นของท้องถิ่นถ้าหากมี
ต่อหนี้สินหมุนเวียน หรือ การเรียกร้องให้ชำระหนี้ในทันที หากค่าดัชนี
Cash and Cash Equivalence / อยู่ในระดับสูงย่อมสะท้อนถึงสภาพคล่อง
Current Liabilities ทางการเงินขององค์กรสำหรับการปฏิบัติงาน
ประจำวันที่สูงตามไปด้วย
3. อัตราส่วนหนี้สิน ภาระหนี้สินหมุนเวียนต่อ ค่าดัชนีสะท้อนถึงสัดส่วนของหนี้ระยะสั้น
หมุนเวียน (Current รายรับรวมขององค์กร (หนี้สินหมุนเวียน) เปรียบเทียบกับรายรับ
Liabilities) ปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ ของท้องถิ่น หากสัดส่วนหนี้สินระยะสั้นอยู่ใน
Current liabilities / Total ระดับสูง ย่อมก่อให้เกิดความตึงตัวในการ
Revenues บริหารสภาพคล่องทางการเงินเพื่อการจัด
บริการด้านต่าง ๆ ได้