Page 34 - kpi12626
P. 34

การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:    23



                      ดัชนีชี้วัด    วิธีการคำนวณ              ความหมาย
                   4. สัดส่วนลูกหนี้  สัดส่วนลูกหนี้ภาษีท้องถิ่นต่อ ค่าดัชนีสะท้อนถึงขีดความสามารถในการ
                   ภาษีท้องถิ่น (Tax   รายได้ท้องถิ่นจากภาษีที่จัด  บริหารจัดเก็บภาษีท้องถิ่นโดยการติดตาม
                   Receivable Ratio)   เก็บเอง หรือ Tax Receivables /  ทวงถามการชำระหนี้ภาษีอากร หากค่าดัชนี
                                 Local Own-Source Revenues  อยู่ในระดับสูง หมายความว่าท้องถิ่นมี
                                                     สัดส่วนลูกหนี้ภาษีอากรที่ยังจัดเก็บไม่ได้
                                                     ในรอบปีงบประมาณในระดับสูง ส่งผลให้  คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                                                     สภาพคล่องทางการเงินลดลง และอาจ
                                                     สะท้อนได้ว่าระบบบริหารจัดเก็บภาษีท้องถิ่น
                                                     ยังไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควร


                        พึงสังเกตว่าหนังสือเล่มนี้มิได้เลือกใช้ดัชนีชี้วัดสภาพคล่องทาง
                  การเงินบางด้านที่นิยมใช้ในองค์กรธุรกิจภาคเอกชน ทั้งนี้เนื่องจากตัวชี้วัด

                  ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับบริบทและข้อเท็จจริงของการบริหารงานท้องถิ่น
                  ซึ่งเป็นองค์กรภาครัฐ โดยเฉพาะตัวชี้วัดเกี่ยวกับอัตราผลตอบแทนหรือความ
                  สามารถในการทำกำไร อาทิ อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (quick ratio) อัตรา
                  หมุนเวียนของลูกหนี้ (receivables turnover) ระยะเวลาเฉลี่ย (วัน) ที่ใช้ในการ
                  ติดตามชำระหนี้จากลูกหนี้ (average receivable collection) อัตราการ
                  หมุนเวียนของสินค้าคงคลัง (inventory turnover) อัตราผลกำไรจากการ
                  ดำเนินงาน (operating profit margin) หรืออัตราผลตอบแทนต่อส่วนของ

                  ผู้ถือหุ้น (return on equity) เป็นต้น

                  2.3 การวิเคราะห์ความยั่งยืนทางงบประมาณ
                        (Budget Solvency)


                        การวิเคราะห์ความยั่งยืนทางงบประมาณหมายถึงการประเมินว่า
                  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสามารถด้านการเงินที่เพียงพอสำหรับ
                  การใช้จ่ายเพื่อจัดบริการสาธารณะตามที่ประชาชนต้องการในรอบ
                  ปีงบประมาณหรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไปจะประเมินจากดุลงบประมาณ (budget
                  balance) การพึ่งพารายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเอง และระดับเงินสะสม (reserves)
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39