Page 35 - kpi12626
P. 35
2 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
หากท้องถิ่นมีดุลงบประมาณที่ไม่ติดลบ มีทรัพยากรเพียงพอสำหรับการใช้
จ่ายเพื่อการจัดบริการสาธารณะในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ หรือมีระดับเงินสะสม
เพียงพอสำหรับการรับมือกับสภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ (rainy
day) แล้ว เชื่อได้ว่าความต้องการของประชาชนที่มีต่อบริการสาธารณะ
ในระดับพื้นฐานจะได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอ และจะไม่เกิดการ
สะดุดหรือขาดตอนลงในระหว่างปีงบประมาณ รายละเอียดดัชนีชี้วัดต่างๆ
มีดังต่อไปนี้
ตารางที่ 2-2 ดัชนีชี้วัดสำหรับการวิเคราะห์ความยั่งยืนทางงบประมาณ
ดัชนีชี้วัด วิธีการคำนวณ ความหมาย
1. อัตราส่วน สัดส่วนระหว่างรายรับรวมต่อ ค่าดัชนีสะท้อนถึงความเพียงพอของ
การดำเนินงาน รายจ่ายรวมของท้องถิ่น หรือ งบประมาณสำหรับการจัดบริการด้านต่าง ๆ
(Operating Ratio) Total Municipal Revenues / ค่าดัชนีที่เป็นบวกสะท้อนถึงความยั่งยืน
Total Municipal Expenditures ในการจัดทำงบประมาณ (ไม่มีแรงกดดัน
มากนักต่อการจัดทำงบประมาณให้สมดุล)
และหมายถึงโอกาสที่ท้องถิ่นจะสามารถ
เพิ่มระดับการจัดบริการสาธารณะได้
2. อัตราส่วนของ สัดส่วนระหว่างรายได้จาก ค่าดัชนีสะท้อนถึงขีดความสามารถในการหา
รายจ่ายที่มาจาก ฐานภาษีท้องถิ่นต่อรายจ่าย รายได้จากภาษีที่ท้องถิ่นจัดเก็บเองต่อระดับ
ภาษีท้องถิ่น รวมของท้องถิ่น หรือ Own- รายจ่ายรวมของท้องถิ่น ค่าดัชนีที่สูงหมาย
ที่จัดเก็บเอง Source Revenues / Total ถึงความมีเสถียรภาพในการจัดทำงประมาณ
(Own-Source Ratio) Municipal Expenditures และการจัดบริการสาธารณะ เนื่องจากเป็น
แหล่งรายได้ที่ท้องถิ่นไม่ต้องรอคอยพึ่งพา
จากรัฐบาล
3. ระดับเงินสะสม สัดส่วนของเงินสะสมที่นำมา ค่าดัชนีบ่งบอกถึงขนาดของกันชนทาง
(Fund Balance) จ่ายขาดได้ต่อรายจ่ายรวม การเงิน (buffer) ที่ท้องถิ่นสามารถนำเงิน
ของท้องถิ่น หรือ Unreserved สะสมออกมาใช้จ่ายเพื่อจัดบริการสาธารณะ
Fund Balances / Total หรือเพื่อการลงทุนในช่วงเวลาที่มีความ
Municipal Expenditures จำเป็นได้ นอกจากนี้ ค่าดัชนีที่สูงยังบ่งบอก
ถึงขีดความสามารถของท้องถิ่นในการรับมือ
กับสภาวะวิกฤตหรือเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ที่ไม่
สามารถคาดการณ์ได้ เช่น จากภัยธรรมชาติ
ฯลฯ