Page 36 - kpi12626
P. 36
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: 2
ดัชนีชี้วัด วิธีการคำนวณ ความหมาย
4. อัตราการ ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของ ค่าการเปลี่ยนแปลงของระดับเงินสะสม
เปลี่ยนแปลง เงินสะสมตอนต้น สะท้อนให้เห็นว่าขีดความสามารถทาง
เงินสะสม (Change ปีงบประมาณและสิ้นปี การเงิน (financial buffer) ขององค์กรปกครอง
in Fund Balance) งบประมาณ เปรียบเทียบ ส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใดในรอบปี
กับเงินสะสมตอนต้น งบประมาณหนึ่งๆ
ปีงบประมาณ คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่าการมีดุลงบประมาณและระดับเงินสะสมในระดับสูง
อาจมิใช่สภาวะที่พึงประสงค์เสมอไป ทั้งนี้เนื่องจากการมีดุลงบประมาณใน
ระดับสูงและ/หรือการมีเงินสะสมในระดับสูงอาจหมายความว่าองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นมิได้พัฒนาโครงการลงทุนหรือจัดบริการสาธารณะให้
กับประชาชนอย่างเต็มที่ตามศักยภาพทางการเงินการคลังที่มีอยู่ก็เป็นได้
ในกรณีเช่นนี้ การมีค่าดัชนีความยั่งยืนทางงบประมาณในระดับสูงจึงอาจ
สะท้อนให้เห็นว่าท้องถิ่นยังมีขีดความสามารถทางการเงินคงเหลือสำหรับ
การดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของประชาชนได้มาก
ขึ้น ด้วยเหตุนี้ การประเมินความยั่งยืนทางงบประมาณขององค์กรปกครอง
ท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการประเมินระดับความเพียงพอ
ของการจัดบริการสาธารณะด้วย ซึ่งผู้เขียนจะนำเสนอไว้ในลำดับถัดไป
2.4 การวิเคราะห์ความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาว
(Long-Term Solvency)
การวิเคราะห์ความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาวเป็นการประเมินถึง
ความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการชำระภาระผูกพันหรือ
ภาระหนี้ระยะยาว (เกิน 1 ปี) ซึ่งมักเป็นหนี้ที่ท้องถิ่นก่อขึ้นเพื่อนำไปลงทุน
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเนื่องจากเงินรายรับในแต่ละปี (recurrent
revenue) มีไม่เพียงพอที่จะนำไปดำเนินโครงการทั้งหมดได้ในทันที อย่างไรก็ดี
หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อหนี้สินเกินตัวและ/หรือนำเงินจากการกู้ยืม
มาใช้จ่ายผิดวัตถุประสงค์ เช่น นำเงินมาใช้จ่ายในแผนงานปกติหรือ