Page 187 - kpi12821
P. 187
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
5.3 เหตุยุบพรรคไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพตาม
รัฐธรรมนูญอย่างร้ายแรง 146
พฤติการณ์ที่กฎหมายถือเป็นเหตุแห่งการยุบพรรคตามหัวข้อ 2.2 และ 2.3
ถูกแย้งว่า มีผลเท่ากับเป็นการละเมิดเสรีภาพในความคิด ความเชื่อ และอุดมการณ์
เสรีภาพในการมีส่วนร่วมทางการเมือง เสรีภาพในการแสดงออก และเสรีภาพในข้อมูล
ข่าวสาร อย่างร้ายแรง ตัวอย่างเช่น การที่พรรคการเมืองไม่ออกมาประณามเหตุก่อการ
ร้ายอาจถือเป็นหนึ่งในหลายๆ พฤติการณ์อันนำไปสู่การยุบพรรคการเมือง เท่ากับ
เป็นการแทรกแซงเสรีภาพในความคิดความเชื่อโดยมิชอบ เพราะไม่ว่าบุคคลใด ก็ไม่อาจ
ถูกบังคับให้ต้องแสดงความคิดเห็นของตนได้ 147
อย่างไรก็ดี ศาลรัฐธรรมนูญกลับเห็นว่า เหตุยุบพรรคที่บัญญัติไว้ในลักษณะ
นามธรรมดังกล่าวมิได้ละเมิดเสรีภาพในประการต่างๆ เหล่านั้นอย่างร้ายแรง เนื่องจาก
บทบัญญัติเกี่ยวกับพฤติการณ์ที่อาจถือเป็นเหตุแห่งการยุบพรรคนั้นกำหนดไว้อย่าง
ชัดแจ้งว่า ต้องมีพฤติการณ์หลายอย่าง ต่อเนื่อง ซ้ำๆ กัน บ่อยๆ ครั้ง มิได้ถือการกระทำ
หรือไม่กระทำเพียงครั้งเดียวเป็นเหตุแห่งการยุบพรรค นอกจากนั้น เหตุยุบพรรคอัน
เนื่องมาจากการละเมิดหลักประชาธิปไตยในพรรคการเมืองตามข้อ 2.2 กฎหมายก็ระบุ 1
ชัดว่า ต้องมีพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่ละเมิดหลักประชาธิปไตยในพรรคการเมืองอย่าง
ต่อเนื่อง ซ้ำๆ กฎหมายมิได้มุ่งควบคุมอุดมการณ์ ความคิดหรือความเชื่อที่ไม่เป็น
ประชาธิปไตยแต่อย่างใด กล่าวอีกนัยหนึ่ง ลำพังเพียงอุดมการณ์ไม่เป็นประชาธิปไตย
ยังไม่เพียงพอที่จะถือเป็นเหตุแห่งการยุบพรรคได้ หากแต่ต้องมีพฤติการณ์ที่แสดงออก
ด้วยว่าไม่เป็นประชาธิปไตย เว้นแต่ อุดมการณ์ดังกล่าวชัดแจ้งว่าเป็นความผิดอาญา
เช่นนี้ ก็ย่อมยุบพรรคเพราะอุดมการณ์ขัดต่อกฎหมายได้ 148
146 น่าจะเทียบได้กับการวินิจฉัยว่า มาตรการจำกัดสิทธิเสรีภาพเป็นการกระทบกระเทือนสาระสำคัญของ
สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญไทย มาตรา 29 วรรคแรก
147 ในประเด็นนี้ คณะกรรมการนักกฎหมายสากล (International Commission of Jurists) ได้เสนอความ
เห็นต่อคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติในการประเมินรายงานรอบที่ 5 ของสเปน ว่า มาตรการ
ดังกล่าวละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการรวมกลุ่ม โปรดดู International Commission of
Jurists, เรื่องเดิม, น. 10-12.
148 Parte 10 F.D. of S.T.C. Mar. 12, 2003 (No. 48/2003)