Page 184 - kpi12821
P. 184
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
หรือสมาชิกพรรคการเมืองดังกล่าวกระทำผิดอาญานั้นเท่ากับเป็นการดำเนินคดีอาญา
ซ้ำหรือเป็นการพิจารณาโทษสองครั้งสำหรับการกระทำผิดครั้งเดียว ขัดต่อหลักการห้าม
ฟ้องซ้ำคดีอาญาในความผิดเดียวกัน (Ne bis in idem –Double Jeopardy)
137
ในเบื้องต้น ศาลรัฐธรรมนูญปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า โดยหลัก หลักการ
Ne bis in idem นี้มุ่งใช้บังคับกับการวินิจฉัยความผิดและลงโทษทางอาญาเป็นการ
เฉพาะ อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีการขยายหลักการดังกล่าวให้ครอบคลุมถึงการลงโทษใน
ลักษณะอื่นๆ ที่มิใช่โทษอาญาด้วยก็ตาม แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ว่า (1) ต้องเป็น
บุคคลคนเดียวกัน (2) สำหรับเหตุการณ์หรือการกระทำครั้งเดียวกันนั้น (3) โทษที่จะลง
138
นั้นต้องเป็นการลงโทษที่มีความมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์เดียวกัน และ (4) ต้องถูก
ลงโทษเพราะการกระทำที่ครบเงื่อนไขตาม (1) (2) (3) นั้น สองครั้ง จึงจะถือว่าขัดต่อ
หลัก Ne bis in idem นี้
ด้วยเหตุนี้ ทั้งในกรณีที่พรรคการเมืองและผู้บริหารพรรคต่างถูกดำเนินคดี
ไปพร้อมๆ กัน กล่าวคือ ผู้บริหารถูกดำเนินคดีอาญาในศาลอาญา ส่วนพรรคการเมือง
ถูกดำเนินคดียุบพรรคการเมืองในศาลฎีกาแผนกพิเศษ หรือในกรณีที่มีการดำเนินคดี
อาญาแก่ผู้บริหารหรือสมาชิกพรรคการเมืองจนคดีถึงที่สุดแล้ว จึงได้มีการดำเนินคดีเพื่อ
1
ยุบพรรคการเมือง แต่เพราะเหตุที่พรรคการเมืองเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบุคคล
139
ธรรมดา จึงถือว่าเป็นบุคคลคนละคนในทางกฎหมาย และในขณะเดียวกัน การยุบ
พรรคการเมืองนั้นแม้เป็นสภาพบังคับทางกฎหมาย แต่ก็ไม่ใช่การลงโทษทางอาญาต่อ
137 หลักการนี้มิได้บัญญัติไว้โดยตรงในรัฐธรรมนูญสเปน แต่ศาลรัฐธรรมนูญสกัดมาจากมาตรา 25 แห่ง
รัฐธรรมนูญที่รับรองหลักไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ (Nulla Poena Sine Lege–No Crimes nor
punishment without law) ซึ่งแต่เดิมใช้แต่เฉพาะกรณีคดีอาญา แต่ต่อมา ขยายไปถึงการลงโทษอื่นๆ ด้วย เช่น
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญสเปน (S.T.C.) ที่ 62/1984, 158/1985, 70/1989, 116/1989, 171 / 1994, 142/
1995, 89/1997, 278/2000 ฯลฯ โปรดดูข้อ 9 ส่วนข้อวินิจฉัยพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิ (Parte 9 de
Fundamentos de Derecho – F.D.); S.T.C., Mar. 12, 2003. (No. 48/2003) อ้างถึงใน Mónica Montero-
Elena, เรื่องเดิม, น. 438 – 439.
138 โปรดดู Mónica Montero-Elena, เรื่องเดิม, น. 438 – 439; เทียบเคียงได้กับกรณีที่นิติบุคคลถูกดำเนิน
คดีอาญา และในขณะเดียวกันก็ตกอยู่ภายใต้สภาพบังคับทางปกครอง เช่น ถูกพักใช้ อันเป็นการระงับสิทธิ หรือ
ถูกเพิกถอนใบอนุญาตการประกอบกิจการ อันมีผลทำให้ความเป็นนิติบุคคลของนิติบุคคลนั้นสิ้นสุดลงตามไปด้วย
ตัวอย่างในกฎหมายไทยก็เช่น มาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 83, 93, 95,
97, และ 110 – 113 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเทียบได้กับกรณี
ข้าราชการกระทำผิดอาญา ถูกฟ้องศาลในคดีอาญา และถูกดำเนินการทางวินัยควบคู่กันไปด้วย หาได้ขัดต่อหลัก
Ne bis in idem นี้ไม่ เพราะการลงโทษอาญาและการลงโทษวินัยนั้น มีความมุ่งหมายแตกต่างกัน.
139 เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน; เทียบเคียงได้กับกรณีที่นิติบุคคลต้องร่วมรับผิดในคดีอาญาในฐานะตัวการ
ร่วมกับบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้แทนของนิติบุคคลนั้น ตัวอย่างจากคำพิพากษาฎีกาไทยก็เช่น ฎ. 1328/2503, ฎ.
1496/2509 และ ฎ. 88/2517 เป็นต้น