Page 195 - kpi12821
P. 195

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                               ในช่วง 4 ทศวรรษแรกหลังจากได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1948 ภัยคุกคาม

                    จากเกาหลีเหนือและลัทธิคอมมิวนิสต์ถือเป็นปัญหาหลักของชาวเกาหลีใต้ ทำให้เฉพาะ
                    พรรคการเมืองสายอนุรักษ์นิยมซึ่งสนับสนุนอเมริกาเท่านั้นที่ชนะการเลือกตั้งและได้
                    เป็นรัฐบาล อีกทั้ง ความหวาดกลัวเกาหลีเหนือยังถูกใช้เป็นเครื่องมือทำลายล้างความ
                    หลากหลายทางการเมือง พรรคการเมืองที่มีนโยบายค่อนไปทางซ้ายหรือสนับสนุน
                    แนวคิดที่ค่อนไปทางสังคมนิยม จะถูกตราหน้าว่าเป็นคอมมิวนิสต์หรือเป็นพวกฝักใฝ่

                              19
                    เกาหลีเหนือ  ด้วยเหตุนี้ หลังจากเกาหลีใต้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยเต็ม
                    รูปแบบแล้ว รัฐธรรมนูญที่ปรับปรุงใหม่ทั้งฉบับในปี ค.ศ. 1987 จึงพยายามเยียวยา
                    สภาพการณ์ที่เคยเป็นมา ด้วยการส่งเสริมหน้าที่ของพรรคการเมืองในการเสริมสร้าง

                    และรักษาความหลากหลายทางการเมือง   20

                               นอกจากนี้ นับแต่มีพรรคการเมืองพรรคแรกในยุคสาธารณรัฐที่ 1 และ

                    ตลอดช่วงเวลาที่รัฐบาลเกาหลีใต้ดำรงอยู่ได้ภายใต้การสนับสนุนของทหาร      21
                    พรรคการเมืองมีสภาพเป็นเพียงกลไกควบคุมเสียงสนับสนุนรัฐบาลในสภา มิได้เป็น
                    พรรคการเมืองที่มาจากการรวมตัวกันของประชาชนที่มีเจตจำนงทางการเมืองร่วมกัน
                    หากแต่มีขึ้นเพียงเพื่อรักษาและสร้างความชอบธรรมให้แก่คณะผู้ปกครอง              1
                    พรรคการเมืองจึงเป็นเพียงหน้าฉากของคณะทหารที่ใช้เข้าสู่สนามเลือกตั้ง ความอยู่รอด

                    ของรัฐบาลขึ้นอยู่กับความสามารถในการประสานประโยชน์กับคณะทหาร  ความ
                                                                                     22
                    ผันผวนทางการเมืองผสมผสานกับการรัฐประหารส่งผลให้พรรคการเมืองต่างๆ ใน
                    เกาหลีใต้ล้วนแล้วแต่มีอายุไม่นาน  ส่วนพรรคการเมืองฝ่ายค้านนั้นมีบทบาทอย่างมาก
                                                23

                       19   David C. Kang, “The Institutional Foundations of Korean Politics,” น. 87 – 88 และ Jung
                    Bock Lee, “The Political Process in Korea,”น. 156 ใน Soong HoomKil and Chung-in Moon,
                    เรื่องเดิม.

                       20   C.R.K., art. 8 (1). แต่ในความเป็นจริง พรรคการเมืองต่างๆ ไม่ได้แข่งขันกันที่อุดมการณ์หรือนโยบาย
                    เพราะอุดมการณ์หรือนโยบายของแต่ละพรรคแทบจะไม่มีความแตกต่างในสาระสำคัญเลย; โปรดดู David C.
                    Kang, เรื่องเดิม, น. 86.

                       21   เกาหลีใต้เผชิญกับการรัฐประหาร 2 ครั้ง ครั้งแรก ค.ศ. 1961 โดยพลจัตวาปักจุงฮี (Park Chung Hee)
                    ครั้งที่ 2 ค.ศ. 1979 โดยพลตรีชุนดูวาน รัฐบาลต่อๆ มาหลังจากนั้นดำรงอยู่ได้ภายใต้ร่มเงาของกองทัพ
                    ผู้สนใจโปรดดู เกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ (ผู้แปล), เรื่องเดิม.

                       22   โปรดดู ตัวเลขสถิติการแต่งตั้งทหารหรืออดีตทหารให้ดำรงตำแหน่งพลเรือนที่สำคัญๆ ใน David C.
                    Kang, เรื่องเดิม, น. 84 – 86.
                       23   พรรคการเมืองพรรคแรกคือพรรคเสรีนิยม (Liberal Party) ถูกจัดตั้งขึ้นและเป็นพรรครัฐบาลในช่วง
                    ทศวรรษ 1950 พรรครัฐบาลต่อมาๆ ได้แก่ พรรคสาธารณรัฐประชาธิปไตย (Democratic Republic Party)
                    ในยุค 1960 – 70s และพรรคยุติธรรมประชาธิปไตย (Democratic Justice Party) ในยุค 1980s; Jung Bock
                    Lee, เรื่องเดิม, น. 155.
   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200