Page 193 - kpi12821
P. 193
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
8
ระบบผสมแบบสัดส่วน (MMP– Mixed Member Proportional) ส.ส. 245 คนแรก
มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเขตเดียวคนเดียว (Single-member
Constituencies) โดยผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดจะเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง (FPTP)
และส.ส.ที่เหลืออีก 54 คนมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน (PR – Proportional
9
Representation) ซึ่งใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง โดยจำนวนคะแนนเสียงแบบสัดส่วน
10
จะเป็นตัวกำกับจำนวน ส.ส. ทั้งหมดที่พรรคการเมืองหนึ่งๆ พึงมีในสภา ทั้งนี้ในการ
เลือกตั้ง ส.ส. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ละคนจะมีสองเสียง เสียงแรกเลือกพรรค (Party Vote)
และเสียงที่สองเลือกผู้สมัคร (Electorate Vote) 11
สภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้นมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของฝ่าย
บริหาร ในการนี้ อาจเสนอให้ประธานาธิบดีปลดนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นออก
จากตำแหน่งได้ รวมทั้งมีอำนาจถอดถอน (Impeachment) ประธานาธิบดี นายก
12
13
รัฐมนตรี รัฐมนตรี ข้ารัฐการระดับสูง และผู้พิพากษาให้ออกจากตำแหน่งได้เช่นกัน
8 เป็นระบบเลือกตั้งที่แตกต่างจากที่ใช้ในประเทศไทย กล่าวคือ ระบบเลือกตั้งของไทย จำนวน ส.ส. แบบ
แบ่งเขตและจำนวน ส.ส. แบบสัดส่วนของพรรคการเมืองหนึ่งๆ จะเป็นอิสระจากกันและกัน เรียกว่า การเลือกตั้ง
ระบบผสมแบบเสียงข้างมาก (MMM – Mixed Member Majortitarian) ในขณะที่ระบบเลือกตั้งของเกาหลีใต้ 1 1
กลับจะนำจำนวน ส.ส. ทั้งหมดของพรรคการเมืองหนึ่งๆ ไปผูกติดกับจำนวนสัดส่วนคะแนนเสียงที่พรรคการเมือง
นั้นๆ ได้รับในการเลือกตั้งแบบสัดส่วน เช่นเดียวกับระบบเลือกตั้งที่ใช้อยู่ในประเทศเยอรมนีและนิวซีแลนด์
ผู้สนใจโปรดดู David M. Farrell, Electoral Systems – A Comparative Introduction, (New York:
Palgrave, 2001), น. 96-120.
9 P.O.E.A., art. 20. [Article 20 of the Public Official Election Act 1994, latest amended
2009]
10 เบื้องต้น จะใช้คะแนนเสียงที่พรรคการเมืองหนึ่งๆ ได้รับจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน คิดคำนวณตัวเลข
จำนวน ส.ส. ทั้งหมดที่พรรคการเมืองนั้นพึงมีอยู่ในสภา จากนั้น นำมาลบออกด้วยจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตที่
พรรคการเมืองนั้นได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตแล้ว จำนวนที่เหลือคือตัวเลขที่นั่งที่พรรคการเมืองนั้นจะได้
รับจากระบบสัดส่วน ตัวอย่างเช่น พรรค A ได้คะแนนเสียงแบบสัดส่วนคิดเป็น 50 % ของคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ทั้งหมด เท่ากับพรรค A จะมี ส.ส. ในสภา 150 คน พรรค A มี ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งแล้ว 130 คน เช่นนี้
พรรค A จะได้ ส.ส. จากระบบสัดส่วนอีก 20 คน ไม่ใช่ พรรค A จะได้ ส.ส. จากระบบสัดส่วนอีก 50 % ของ
จำนวน ส.ส. แบบสัดส่วนทั้งหมด (54 ที่นั่ง) หรือเท่ากับ 27 คนแต่อย่างใด; โปรดดู http://www.nec.go.kr/
nec_2009/english/
11 Sung Nak In, “Korea,” in Thomas D. Grant (ed.), Lobbying, Government Relations And
Campaign Finance Worldwide, (USA, Oxford University Press), น. 320.
12 C.R.K., art. 61 – 63.
13 C.R.K., art. 65.