Page 32 - kpi15428
P. 32
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นโยบายสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์กันระหว่าง 2 มิติ
ได้แก่ วิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพราะทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการบริหารจัดการ
ขณะที่นโยบายก็เป็นเรื่องการจัดสรรและประโยชน์สาธารณะ เพราะสภาพ
แวดล้อมที่ดีหรือไม่ดีนั้นย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ (Kraft,
2003, pp.10-13) สำหรับสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมในประเทศไทยนั้น ได้มีการรับรองสิทธิดังปรากฏในรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ดังจะกล่าวถึงรายละเอียดต่อไปในส่วน
ของบทที่ 3
v รูปแบบสิทธิชุมชนกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
ลักษณะการใช้สิทธิของชุมชนแบ่งได้เป็น สิทธิในการใช้ประโยชน์และ
สิทธิของผู้มาก่อน โดยสิทธิในการใช้ประโยชน์ตามแนวคิดสิทธิชุมชน คือ
สิทธิที่จะใช้ทรัพยากรโดยไม่อาจหวงการใช้ทรัพยากรได้ เช่น ไม่มีการจับจอง
ที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์เฉพาะตน เมื่อตนไม่ใช้ประโยชน์ในทรัพยากรนั้นก็จะ
ต้องเปิดโอกาสให้คนอื่นในชุมชนได้ใช้ทรัพยากรนั้น ดังนั้น ชาวบ้านจะไม่มี
สิทธิในการซื้อขายและเปลี่ยนมือของที่ดินทำกิน ซึ่งทำให้ชุมชนสามารถ
รักษาที่ดินและตกทอดสู่รุ่นลูกหลานได้มากกว่าการเข้าสู่ระบบซื้อขายสิทธิ
ส่วนสิทธิของผู้มาก่อน คือ ผู้ใดที่ได้เข้าไปจับจองทรัพยากรก่อนก็มีสิทธิที่จะ
ใช้ทรัพยากรนั้นโดยการทำเครื่องหมายจองไว้ เพื่อทำมาหากินในช่วงเวลา
ที่เหมาะสม ส่วนผู้มาทีหลังจะไม่เข้าไปแย่งทรัพยากรนั้น แต่การใช้
ทรัพยากรนี้ไม่ได้ตายตัวมากนัก และอาจเป็นการจับจองแบบชั่วคราวหรือ
แบบถาวรที่เป็นมรดกแก่ลูกหลานก็ได้ (เลิศชาย ศิริชัย, 2546, น.392-
396) รูปแบบการใช้สิทธิของชุมชนนี้น่าจะช่วยลดสถานการณ์ที่เรียกว่า
4
“โศกนาฏกรรมของทรัพยากรส่วนรวม” (Tragedy of the commons)
4 Tragedy of the commons เป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการใช้
ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นของส่วนรวม ที่มีการใช้ทรัพยากรมากเกินไปจนทำให้เกิด