Page 45 - kpi15428
P. 45
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
บอตสวานาที่มีประชากรน้อย และชุมชนแถบชนบทก็มีลักษณะทางชาติพันธุ์
แบบเดียวกันทำให้เอื้อต่อการส่งเสริมนโยบายเกี่ยวกับ CBNRM
บอตสวานายังมีการส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติชุมชน
ในระดับท้องถิ่นโดยการจัดตั้งองค์กรชุมชน (Community-Based
Organization: CBO) เพราะบอตสวานาไม่มีองค์กรบริษัทในการบริหาร
จัดการสิทธิเพื่อใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่า เช่น เป็นองค์กรที่มีสิทธิในการใช้
ประโยชน์จากสัตว์ป่าในรูปแบบของโควตา หรือมีสิทธิในการลงทุนเพื่อให้
เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวโดยจะได้รับการเช่าที่ดินเพื่อการท่องเที่ยวจาก
คณะกรรมการที่ดินของแต่ละเขตเป็นระยะเวลา 15 ปี โดยองค์กรชุมชน
สามารถเข้าไปร่วมทุนได้ในสัดส่วน 1 ใน 3 ของการร่วมทุนนั้นๆ
นับตั้งแต่มีการดำเนินนโยบายเกี่ยวกับสิทธิชุมชนโดยแนวคิด
CBNRM ตั้งแต่ช่วงประมาณทศวรรษที่ 1990 บอตสวานามีปัญหาอยู่บ้าง
ตรงที่ว่า CBNRM เป็นแนวคิดโดยหน่วยงานที่สนับสนุนจากภายนอก
ประเทศ และกรมอุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่าก็ต้องทำงานให้กับหน่วยงาน
เหล่านั้นด้วย ทำให้โครงการ CBNRM ขาดความสอดคล้องกับวัฒนธรรม
ความสัมพันธ์ และอัตลักษณ์ของชุมชนในบอตสวานา ทั้งๆ ที่ฐานแนวคิด
CBNRM มุ่งสนับสนุนความไว้วางใจและทำให้คนมีคุณค่าและอนุรักษ์
ทรัพยากรที่มีอยู่ แต่การทำโครงการนี้ในบอตสวานากลับละเลยการมีส่วนร่วม
ดังนั้น โครงการนี้ไม่ได้สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนในบอตสวานา
ต่อมา นโยบายตามฐานคิด CBNRM ที่หน่วยงานภายนอกสนับสนุน
ให้กับบอตสวานาได้สิ้นสุดลงเมื่อปี ค.ศ.2003 และเป็นเหตุให้องค์กรชุมชน
ที่มีอยู่ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม ซึ่งรัฐบาล
ของบอตสวานามองว่าการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชนคงจะไม่มี
ความยั่งยืนหากขาดการสนับสนุนให้ดำเนินต่อ ดังนั้น รัฐบาลจึงได้กลับมา
ให้การฟื้นฟูและสนับสนุนนโยบายนี้ขึ้นมาอีกครั้งในปี ค.ศ.2008 โดยมีนโยบาย
ให้ชุมชนได้รับภาษีร้อยละ 100 เช่นเดิมจากองค์กรสัตว์ป่าในชุมชน และ
7