Page 47 - kpi15428
P. 47
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ประเทศอินเดีย :
ความยากจนที่นำไปสู่การจัดการ
ป่าไม้ร่วมกันของชุมชน
อินเดียตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ มีพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร
มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก ประชากรประมาณ 1.13 พันล้านคน
มีเมืองหลวงชื่อกรุงนิวเดลี (New Delhi) ภาษาที่ประชาชนส่วนใหญ่ใช้เป็น
ภาษาฮินดี ส่วนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในวงราชการและธุรกิจ ระบอบ
การเมืองของอินเดียเป็นแบบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา (Parliamentary
Democracy) โดยปกครองแบบสาธารณรัฐ (Federal Republic) อินเดีย
มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน จนกระทั่งมีการสถาปนาสาธารณรัฐอินเดีย
ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2493 อินเดียแบ่งการบริหารเป็น 2 ระดับ
ได้แก่ ระดับรัฐบาลกลาง และระดับรัฐ (กองเอเชียใต้ กระทรวงการ
ต่างประเทศ, 2552)
ชุมชนในชนบทของอินเดียพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลักจึงมีความเป็นอยู่ที่
แร้นแค้นและยากจน ซึ่งรัฐบาลมองว่าหากจะแก้ปัญหาความยากจนของคน
อินเดียจะต้องมีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางออกไปเพื่อให้ส่วนท้องถิ่น
สามารถบริหารจัดการและกระจายทรัพยากรทางธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ได้
อย่างทั่วถึง แต่องค์กรท้องถิ่นอย่าง Panchayati Raj Institutions ยังมี
ความอ่อนแอทางการเงิน ขาดความตระหนักของชุมชนในเรื่องสิทธิ อำนาจ
และความรับผิดชอบ ฯลฯ เพราะการรวมศูนย์อำนาจยังคงมีอยู่อย่างเหนียว
แน่น เช่น กรณีความเป็นหุ้นส่วนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
รัฐส่วนกลางก็จะเป็นเจ้าของทั้งทรัพยากรและงบประมาณ และยังมีอำนาจ
ถอดถอนคณะกรรมการป่าไม้หมู่บ้านได้อีก และยังมีความไม่เท่าเทียมทั้ง
ทางเศรษฐกิจและสังคมในโครงสร้างของท้องถิ่นเอง (Baumann & other,
2003, p.14)
9