Page 50 - kpi15428
P. 50

ชุมชนกับสิทธิ  ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



              การตรากฎหมายนี้เป็นการต่อสู้ที่ยืดเยื้อของชุมชนเพื่อสิทธิในการบริหาร

              จัดการป่าไม้ของชุมชนตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เรื่อยมาถึงศตวรรษที่ 20 และ
              ยังคงยืดเยื้อต่อไปจนถึงศตวรรษที่ 21 การต่อสู้เพื่อสิทธิในป่าไม้ของชุมชน
              เกิดจากชุมชนขาดความเป็นเจ้าของและการเข้าถึงที่ดิน ขาดการยอมรับให้
              เป็นผู้ริเริ่มจัดการป่าไม้ ขาดการยอมรับการบริหารปกครองแบบดั้งเดิมและ

              การเป็นเจ้าของทรัพยากรในพื้นที่ของชนเผ่า และมีการคุกคามต่อที่ดิน
              ชุมชนและป่าไม้จากโครงการพัฒนาต่างๆ ซึ่งคณะกรรมการการวางแผน
              แห่งอินเดีย (The Planning Commission of India) ได้ให้ความสำคัญเพื่อ
              แก้ปัญหากับประเด็นเหล่านี้ผ่านการออกกฎหมายคุ้มครองต่างๆ เช่น

              พระราชบัญญัติป่าไม้ และ Panchayat Extension to Scheduled Areas
              Act เพื่อจัดการกับความไม่สงบ ความรุนแรง และความไม่พอใจที่นับวัน
              จะมากขึ้น นับตั้งแต่มีการเริ่มใช้กฎหมายป่าไม้ในปี ค.ศ.2008 ก็เกิดการ
              อภิปรายอย่างมีกว้างขวาง ซึ่งแบ่งข้อถกเถียงได้เป็น 2 ฝั่ง ฝั่งแรกเป็นข้อคิด

              เห็นของฝั่งอนุรักษ์นิยมที่เห็นว่าสิทธิไม่สามารถอยู่ร่วมกับการอนุรักษ์ได้
              ส่วนอีกฝั่งหนึ่งซึ่งเป็นพวกสิทธิชุมชนเห็นว่าการยอมรับสิทธิทางป่าไม้และ
              การปฏิรูปความเป็นเจ้าของป่าไม้ของชุมชนเป็นเรื่องสำคัญและทำให้
              การอนุรักษ์มีประสิทธิภาพ

                    นอกจากนี้ อินเดียมีกฎหมายว่าด้วยสิทธิทางป่าไม้ (Forest Rights

              Act) ที่ให้การยอมรับสิทธิทางดินแดนของกลุ่มชนเผ่า สิทธิชุมชนใน
              การเกษตรกรรมที่มีมาก่อน และสิทธิการริเริ่มอนุรักษ์ของชุมชน และตั้งแต่
              มีการบังคับใช้กฎหมายในปี ค.ศ.2008 ชุมชนได้ใช้สิทธิตามกฎหมาย
              บัญญัติเรียกร้องเกี่ยวกับสิทธิทางป่าไม้ ซึ่งสิทธิเหล่านี้ได้แก่ สิทธิที่จะอยู่

              อาศัยและใช้พื้นที่ป่าเพาะปลูก ปลาและผลิตภัณฑ์จากหนองน้ำ การเข้าถึง
              ทรัพยากรได้ตามฤดูกาล การปกป้องอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรป่าไม้
              ของชุมชน ทรัพย์สินทางปัญญาและภูมิปัญญาชาวบ้านที่เกี่ยวกับความ
              หลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55