Page 48 - kpi15428
P. 48
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำหรับนโยบายด้านสิทธิชุมชนในอินเดียค่อนข้างเกี่ยวข้องกับ
การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และไม่ใช่เรื่องใหม่ในอินเดีย เพราะมีการเริ่มตั้ง
คำถามเกี่ยวกับบทบาทของรัฐต่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
มาตั้งแต่ยุคอาณานิคม ซึ่งการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในแบบรวมศูนย์
หลังจากที่อังกฤษได้เข้ามาครอบครองอินเดียนั้นประสบปัญหาที่ไม่สามารถ
ใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน และคนบางกลุ่มก็ไม่อาจเข้าถึง
ทรัพยากรได้ดังเดิม จึงทำให้อินเดียต้องมีการปรับแนวนโยบายด้านการ
จัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและชุมชน
ท้องถิ่น เช่น พระราชบัญญัติป่าไม้ ค.ศ.1878 ที่มีความพยายามจำแนกป่า
ไม้ให้มีป่าของหมู่บ้าน (Village forests) แต่การกระจายสิทธิให้กับชุมชน
ดังกล่าวยังคงไม่กว้างขวางมากนัก
ในช่วงทศวรรษที่ 1970 – 1990 มีความพยายามเป็นอย่างยิ่งที่จะลด
ความยากจนถึงขนาดเป็นนโยบายของ Indira Gandhi นายกรัฐมนตรี
อินเดียสมัยนั้นว่า “ความยากจนเป็นตัวก่อมลพิษที่ใหญ่ที่สุด” (Poverty is
the greatest polluter) และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิชุมชนในตอนนั้น
คือ การพยายามลดความยากจนด้วยการให้สิทธิในทรัพย์สินกับคนยากจน
และมีการตั้งหน่วยงานที่ทำงานเชื่อมโยงกับท้องถิ่น ซึ่งนับเป็นก้าวแรก
ที่ชุมชนในท้องถิ่นของอินเดียได้เข้าไปมีส่วนในนโยบาย แต่ในยุคนี้ก็ยังมี
ข้อเรียกร้องว่าโครงการพัฒนาทางเศรษฐกิจของรัฐไม่เป็นไปอย่างยั่งยืน
จึงควรให้สิทธิแก่ชุมชนในการเข้าถึงทรัพยากรและตอบความต้องการของ
ชุมชนในท้องถิ่นมากกว่า ในช่วงนี้นับได้ว่าชุมชนท้องถิ่นได้เข้าไปมีส่วนร่วม
ในโครงการพัฒนาของรัฐที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรในพื้นที่ของตนเองมากขึ้น
(Baumann & other, 2003, pp.1-5)
สำหรับแนวคิดด้านนโยบายป่าไม้แต่เดิมที่ภาครัฐเป็นศูนย์กลาง
การจัดการนั้นค่อนข้างล้มเหลวเพราะท้องถิ่นและชุมชนไม่ได้เป็นเจ้าของ
โครงการจัดการเหล่านั้น จึงเกิดนโยบายเกี่ยวกับสิทธิชุมชนในการจัดการ
0