Page 84 - kpi15428
P. 84

ชุมชนกับสิทธิ  ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



                      พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์

              ทรัพยากรสัตว์น้ำ ประกาศที่จับสัตว์น้ำ วิธีการจับสัตว์น้ำ และห้ามการ
              ก่อมลพิษในแหล่งจับสัตว์น้ำ (คณะบุคคลโครงการสิทธิชุมชน, 2554,
              น.91) โดยมีข้อกำหนดเพื่อควบคุมการประมงและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำจึงมี
              ข้อห้ามมากมาย เช่น มาตรา 31 ห้ามไม่ให้บุคคลใดสร้างเครื่องมือลงในที่

              สาธารณะประโยชน์ ส่วนที่จับสัตว์น้ำโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่
              ให้สิทธิเฉพาะบุคคลในการทำประมง มาตรา 52 ให้อำนาจแก่กรมการจังหวัด
              ประกาศห้ามจับสัตว์น้ำได้ ต่อมามีข้อกำหนดในฉบับที่ 2 พ.ศ.2496 ที่มีบท
              กำหนดโทษที่รุนแรงและรัดกุมมากขึ้นสำหรับผู้ที่ลักลอบจับสัตว์น้ำจืดและ

              น้ำเค็มโดยวิธีที่รุนแรงซึ่งอาจทำให้ปลาสูญพันธุ์ ต่อมาฉบับที่ 3 พ.ศ.2528
              ได้มีข้อกำหนดเพิ่มเติมควบคุมการใช้สารพิษในการประมงและห้ามครอบ
              ครองสัตว์น้ำเพื่อการอนุรักษ์ และเพิ่มบทกำหนดโทษมากขึ้น

                      พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 มีข้อกำหนด
              เกี่ยวกับการประกอบกิจการแพปลา ซึ่งมีข้อห้ามการประกอบกิจการ

              ดังกล่าวเว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตและเสียค่าธรรมเนียม

                      พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ.2520 สาระสำคัญเพื่อคุ้มครอง
              ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมโดยรวมให้พ้นจากผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจาก
              การนำน้ำบาดาลไปใช้ โดยการประกอบกิจการบาดาลได้ต้องได้รับอนุญาต
              แม้จะเป็นการประกอบการในเขตที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองก็ตาม
              ต่อมาพระราชบัญญัติดังกล่าว (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2535 ได้มีการปรับสาระ

              สำคัญในส่วนของการควบคุมที่เข้มงวดมากขึ้น เช่น กำหนดเขตห้ามทำ
              บาดาล ปรับปรุงค่าธรรมเนียม การส่งเสริมความรู้ความสามารถของช่าง
              เจาะบาดาล เป็นต้น











              7
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89