Page 82 - kpi15428
P. 82

ชุมชนกับสิทธิ  ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



              ซื้อขายพันธุ์พืช ต่อมา ฉบับที่ 2 พ.ศ.2535 มีการออกมาตรการควบคุม

              พันธุ์พืชที่เข้มงวดมากขึ้นเพราะยังไม่สามารถควบคุมการขยายพันธุ์พืช
              ที่ไม่ใช่วิธีธรรมชาติได้ และยังมีการส่งเสริมการเพาะพันธุ์ ขยายพันธุ์พืช
              บางชนิดตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและ
              พืชป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์

                    
 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มีวัตถุประสงค์

              ในการคุ้มครองสัตว์ป่าซึ่งถือเป็นทรัพยากรท้องถิ่นที่สำคัญ โดยสอดคล้องกับ
              ข้อตกลงระหว่างประเทศที่เป็นสากล (คณะบุคคลโครงการสิทธิชุมชน,
              2554, น.90) โดยมีข้อกำหนดในการคุ้มครองและสงวนสัตว์ป่า จึงห้าม
              ไม่ให้มีการล่า ครอบครอง ซื้อขาย การห้ามนำเข้า ส่งออก นำผ่าน ซึ่งมี

              การยกเว้นเฉพาะกรณีที่ได้รับอนุญาตจากรัฐหรือมีข้อยกเว้นตามกฎหมาย
              เท่านั้น

                      พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ.2535 มีสาระสำคัญกำหนดสิทธิของ
              ผู้ประกอบกิจการสวนป่า ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถปลูกไม้
              หวงห้ามในที่ดินซึ่งตนเองมีกรรมสิทธิ์หรือเช่าสิทธิได้ โดยต้องได้รับอนุญาต

              จากรัฐเสียก่อน

                  ๏  ทรัพยากรแหล่งน้ำ

                      พระราชบัญญัติชลประทานราษฎร์ พ.ศ.2482 พระราชบัญญัติ

              การชลประทานราษฎร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2523 และพระราชบัญญัติการ
              ชลประทานราษฎร์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2526 เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับการกัก
              เก็บน้ำของบุคคล ราษฎร และการกักเก็บน้ำเพื่อการค้า ที่มีการกำหนดให้
              ผู้ที่อยู่ห่างไกลน้ำได้รับประโยชน์จากการใช้น้ำผ่านที่ดินของผู้ที่อยู่ใกล้แหล่ง

              น้ำได้ และมีบทกำหนดโทษมากขึ้นสำหรับผู้ที่กักเก็บน้ำมากเกินกว่า
              ที่กฎหมายกำหนดไว้






              7
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87