Page 83 - kpi15428
P. 83

ชุมชนกับสิทธิ  ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



                         พระราชบัญญัติชลประทานหลวง พ.ศ.2484 เป็นกฎหมาย

                  ที่ส่วนใหญ่กำหนดบทบาทหน้าที่พนักงานของรัฐ กำหนดข้อห้ามเกี่ยวกับ
                  การชลประทานหลวง เช่น ห้ามมีการทำสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ชลประทาน
                  ห้ามมีการขุดคลองเชื่อมทางน้ำชลประทาน อธิบดีมีอำนาจสั่งเปิดปิดประตู
                  กั้นน้ำชลประทาน การกำหนดให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านหรือเทศมนตรีในเขต

                  ชลประทานมีหน้าที่รักษาคันคลองและทางน้ำชลประทานในเขตท้องที่หรือ
                  เทศบาลนั้น อย่างไรก็ดี กฎหมายฉบับนี้ได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมตาม
                  มา ได้แก่ พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2497
                  เป็นการขยายขอบเขตการควบคุมชลประทานหลวง พระราชบัญญัติ

                  การชลประทานหลวง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2507 เป็นการปรับในส่วนของ
                  การดำเนินงานก่อสร้าง การบำรุงรักษา การควบคุม และการลงโทษ เพื่อให้
                  เจ้าพนักงานมีอำนาจในการดำเนินการมากขึ้น

                         ต่อมามีประกาศคณะปฏิวัติ ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2515 ในสมัย
                  จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี มีบทบัญญัติที่แย้งกับหลักสิทธิ

                  ชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตรงที่ให้อำนาจแก่
                  รัฐในการครอบครอง เวนคืน และจ่ายค่าเวนคืนย้อนหลังได้ โดยใช้เหตุผล
                  เพื่อการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว เช่น ในเนื้อความตาม
                  มาตรา 12 ที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าครอบครองและใช้ที่ดินที่ได้

                  เวนคืนเพื่อการชลประทานแม้ยังไม่มีการชำระค่าทำขวัญ โดยเจ้าหน้าที่รัฐ
                  เพียงแจ้งให้เจ้าของที่ดินทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน จากนั้น มีการ
                  ปรับแก้ไขในพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2518
                  ที่มีบทบัญญัติให้เก็บค่าชลประทานจากผู้ประกอบการโรงงานและกิจการ

                  อื่นๆนอกเหนือจากเก็บจากภาคเกษตรกรรม และล่าสุดมีการปรับแก้ใน
                  พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2530 เป็นการ
                  ยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับการเวนคืนที่ซ้ำซ้อนกับกฎหมายฉบับอื่น







                                                                              7
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88