Page 250 - kpi15476
P. 250

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   249


                      ในการกระทำความผิดนั้น ต่อเมื่อความผิดนั้นๆได้เกิดขึ้นแล้ว บิดาจึงจะปกปิดอำพรางความผิด
                      ของบุตร หรือบุตรจะปกปิดอำพรางความผิดของบิดา ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุในทางที่

                      เชื่อว่าถูกต้องเหมาะสม แต่ถ้าจะให้ดีก็ต้องแก้ไขที่ต้นเหตุโดยสร้างจริยธรรมในครอบครัว
                      ที่เข้มแข็งอันมีหลักความกตัญญูและภราดรธรรมเป็นพื้นฐานเพื่อจะได้ตักเตือน และตรวจสอบ
                      การกระทำระหว่างกันของคนในครอบครัวในอันที่จะยับยั้งการกระทำที่ผิดแบบแผนจารีตหรือ

                      กฎหมาย


                      บทสรุป




                            ข้อแตกต่างในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ของทั้งสองปรัชญา ในมหาภารตยุทธ
                      จะมุ่งเน้นการแบ่งวรรณะตามหน้าที่และยึดถือว่าเป็นธรรมที่ต้องทำให้สมบูรณ์ แต่ปรัชญาขงจื่อจะ
                      เน้นความกตัญญูในความสัมพันธ์ภายในครอบครัวที่เป็นพื้นฐานซึ่งก่อให้เกิดความเป็นระเบียบของ

                      สังคม ดังนั้นการกำหนดว่าความกตัญญูเป็นหลักปฏิบัติของบุตรต่อบิดามารดาจึงเท่ากับเป็นการ
                      กำหนดทิศทางแห่งระเบียบสังคมขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม แม้จะมีข้อแตกต่างระหว่างระบบ

                      วัฒนธรรมของ ทั้งสองตัวบทแต่ก็ไม่ควรนำมาเป็นข้อจำกัดต่อการเปรียบเทียบในการพิจารณา
                      จุดร่วมบางประการ ในระบบความคิดของทั้งสองปรัชญา การทำความเข้าใจในตัวบท (text)
                      จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อใช้ทำความเข้าใจแนวคิด ข้อสรุปที่ได้จากการศึกษาเปรียบเทียบคุณธรรมของ

                      ผู้ปกครองเกี่ยวกับภาวะแห่งพันธะหน้าที่ต่อผู้ใต้ปกครองและจริยศาสตร์ครอบครัวดังสรุปในตาราง
                      ต่อไปนี้


                      ตารางเปรียบเทียบคุณธรรมของผู้ปกครองเกี่ยวกับภาวะแห่งพันธะหน้าที่ต่อผู้ใต้ปกครองและ
                      จริยศาสตร์ครอบครัวในความคิดทางการเมืองของปรัชญาขงจื่อ (คัมภีร์หลุนอวี่) และปรัชญา

                      ฮินดู (มหาภารตยุทธ)


                                                 ปรัชญาขงจื่อในคัมภีร์หลุนอวี่     ปรัชญาฮินดูในมหาภารตยุทธ
                       แนวคิดหลัก             - มุ่งเน้นบทบาทความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด                 - บทบาทของความสัมพันธ์ภายใน

                                              กับบิดามารดามากที่สุดในบรรดาความ ครอบครัวของบุคคลจะขึ้นอยู่กับ
                                              สัมพันธ์ของมนุษย์บนหลักความ สถานภาพทางการเมืองที่เข้ามากำหนด
                                              กตัญญุตาธรรมและภราดรธรรม         บทบาทด้วยในบางสถานการณ์

                         เปรียบเทียบภาวะแห่งพันธะหน้าที่ต่อผู้ใต้ปกครองและจริยศาสตร์ครอบครัวในความคิดทางการเมือง
                       1. ประเด็นจริยศาสตร์ - บิดาฆ่าบุตร บุตรฆ่าบิดาถือเป็นความ - บิดาฆ่าบุตร บุตรฆ่าบิดาไม่ถือว่าเป็น

                       ความสัมพันธ์ในครอบครัว ผิดขั้นร้ายแรง ไม่ว่าบิดาจะเข้ามาใน ความผิดหากทำไปตามหน้าที่ที่อิงกับ
                       ที่ เ ชื่ อ ม โ ย ง กั บ ค ว า ม ฐานะที่อิงกับสถานภาพทางการเมือง สถานภาพทางการเมือง
                       สัมพันธ์เชิงอำนาจทางการ หรือไม่ก็ตาม หากบุตรมิหลีกเลี่ยงยอม
                       เมือง                  ให้บิดาทำร้ายจนถึงชีวิต จะถือว่าอกตัญญู                                    เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
   245   246   247   248   249   250   251   252   253   254   255