Page 245 - kpi15476
P. 245

244     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                       การให้สัจจะวาจาจึงเป็นประเด็นสำคัญในมหาภารตยุทธ นอกเหนือจากมนุษย์ที่เป็น
                  เทพอวตารอย่างพระกฤษณะที่สาปแช่งอัศวัตถามาหรือฤๅษีวสิษฐ์ที่สาปแช่งเทวดากลุ่มวสุคณะได้

                  ก็จะเป็นสตรีที่สามารถสาปแช่งผู้อื่นได้ ซึ่งแสดงว่าสตรีก็มีความสำคัญในการกล่าววาจาสิทธิ์เช่น
                  กันหากเป็นผู้มีคุณธรรม กล่าวอย่างใดต้องเป็นอย่างนั้นเนื่องจากอานิสงส์ที่บำเพ็ญไว้ เช่น การที่
                  นางคานธารียอมเสียสละเพื่อสวามีที่ยอมไม่มีเนตร โดยใช้ผ้าปิดตาตลอดเวลานับตั้งแต่ได้อภิเษก

                  สมรสกับกษัตริย์ธฤตราษฎร์ ผู้มีพระเนตรเสียแต่กำเนิด ทำให้มีตบะมากจนสามารถสาปแช่ง
                  พระกฤษณะได้ หรืออย่างนางเทฺราปทีที่สามารถสาปแช่งพวกเการพได้ไม่ว่าจะเป็นทุรโยธน์ที่ต้อง

                  ตายด้วยอาวุธของศัตรูที่โคนขา ทุหศาสันต้องตายด้วยมือของภีมเสนที่ฉีกอกและดื่มเลือด กรรณะ
                  ต้องตายด้วยมือของอรชุนผู้แม่นธนูและศกุนิต้องตายด้วยมือของสหเทพ เป็นต้น


                       การวิเคราะห์เปรียบเทียบในที่นี้จะมุ่งเน้นไปที่สัจจะวาจาในครอบครัวเป็นสำคัญ ที่สะท้อน
                  ในมหาภารตยุทธว่าคำพูดของผู้มีอาวุโสและมีคุณธรรมจะมีความสำคัญในแง่ของการต้องเคารพ

                  เชื่อฟังและปฏิบัติตามซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาขงจื่อ แต่หากคำพูดของผู้มีอาวุโสและมีคุณธรรม
                  มีความสำคัญมากกว่ากฎเกณฑ์ทางสังคม หรือสามารถนำไปสู่การกลายเป็นกฎเกณฑ์ใหม่
                  ที่ยอมรับร่วมกันแล้ว เป็นที่น่าพิจารณาว่าขงจื่อจะมองการกระทำเช่นนี้ว่าอย่างไร โดยก่อนจะ

                  ตอบคำถามนี้จะขอวิเคราะห์ตัวบทมหาภารตยุทธในประเด็นดังกล่าวเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น
                  เป็นที่น่าสังเกตว่าในมหาภารตยุทธไม่เฉพาะแต่ผู้นำทางการเมืองหรือผู้ปกครองเท่านั้นที่สามารถ

                  จะกำหนดกฎเกณฑ์ทางสังคมได้ ในที่นี้เป็นการชี้ให้เห็นว่ากฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นภายในครอบครัว
                  สามารถเกี่ยวโยงไปสู่กฎเกณฑ์ทางสังคมได้เช่นกันที่ทำให้เกิดการยอมรับในแบบแผนปฏิบัติใหม่
                  ที่แตกต่างไปจากจารีตในอดีต ดังที่นางกุนตีบอกลูกๆว่าต้องแบ่งสิ่งของเท่าๆกันระหว่างพี่น้อง

                  จนทำให้พี่น้องห้าคนต้องมีภรรยาคนเดียวกันซึ่งไม่ใช่ประเพณีที่เคยมีมาก่อน ด้วยประการฉะนี้
                  นางเทฺราปทีจึงต้องตกเป็นชายาของพี่น้องปาณฑพทั้งห้าในคราวเดียวกันดังตัวบทที่ว่า


                          “เพราะคำพูดของมารดานั้นถือเป็นประกาศิต ซึ่งพี่น้องปาณฑพไม่เคยละเลยหรือ
                     ไม่ปฏิบัติตาม แต่การที่จะให้หญิงคนเดียวเป็นสมบัติร่วมแบ่งกันกินแบ่งกันใช้ในระหว่าง

                     ชาย 5 คนพร้อมกันนั้น ก็ไม่ใช่เป็นประเพณีหรือเป็นสิ่งที่กระทำกันโดยทั่วไป” (กรุณา-
                     เรืองอุไร กุศลาสัย, 2550:64)


                       เมื่อมาถึงจุดนี้จึงเกิดคำถามต่อไปว่า แล้วเหตุใดนางเทฺราปทีจึงต้องทำตามยอมเป็นภรรยา
                  ของผู้ชายทั้งห้าคนในเมื่ออรชุนเป็นคู่ครองของนางที่ชนะการประลองกำลังในพิธีสยุมพรเพียง

                  คนเดียว จึงอาจตีความได้ว่าในเมื่อนางเทฺราปทีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวปาณฑพแล้ว
                  ก็ย่อมต้องเชื่อฟังคำสั่งของผู้เป็นที่เคารพสูงสุดอย่างนางกุนตีด้วย จะเป็นไปโดยความสมัครใจหรือ

                  ไม่ก็ตามที่ทำให้นางเทฺราปทียอมรับที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในครอบครัวซึ่งเป็นการแหวก
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   ปราศจากความยึดมั่นถือมั่น เพราะการทำหน้าที่ของภรรยานั้นก็ถือเป็นการปฏิบัติธรรมเช่นกัน
                  ประเพณีที่ไม่เคยมีมาก่อน หรืออาจมองได้อีกอย่างว่าการกระทำใดก็ตามที่ถือเป็นหน้าที่ย่อม



                  อย่างไรก็ตาม ในสังคมภายนอกก็มีการโต้แย้งกันมากระหว่างข้าราชบริพารและนักปราชญ์
                  ราชบัณฑิตเพราะไม่เคยมีประเพณีที่จะให้หญิงคนเดียวแต่งงานกับชายถึงห้าคนในเวลาเดียวกัน

                  จนต้องอาศัยคำพูดของผู้อาวุโสและผู้ทรงคุณธรรมอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของคนใน
   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250