Page 247 - kpi15476
P. 247

24      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  เพียงนั้น และบุตรต้องทำตามทุกอย่างโดยไม่สามารถทัดทานได้แล้ว ก็เป็นสิ่งที่อันตรายอย่างยิ่ง
                  จากผลของคำพูด เนื่องจากขงจื่อจะมองว่าบิดามารดาอาจกระทำผิดได้เช่นกัน ซึ่งบุตรก็สามารถ

                  ทัดทานคำกล่าวของมารดาด้วยความนบนอบ โดยเฉพาะการกระทำที่ถือว่าขัดต่อขนบธรรมเนียม
                  จารีต ซึ่งไม่ถือว่าอกตัญญูแต่อย่างใด


                  ประเด็นที่สาม: เปรียบเทียบประเด็นการรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดกับการอำพราง
                  ความผิดของคนในครอบครัว



                       ในบางตัวบทของมหาภารตยุทธ จะเห็นได้ว่าท้าวธฤตราษฎร์ได้แสดงการกระทำในลักษณะ
                  ที่แสดงถึงการรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดของทุรโยธน์ซึ่งเป็นบุตรของตนเอง ดังเห็นได้จาก


                          “เมื่อครั้งที่ฝ่ายเการพได้ร่วมเห็นชอบให้ทุหศาสันกระทำการข่มเหงหญิงผู้หมดทาง
                     ต่อสู้อย่างนางเทฺราปที โดยมหามติวิทูรเหลือที่จะอดทนได้ต่อไปจึงรุดไปกระซิบท้าวธฤตรา

                     ษฎร์ว่า‘การกระทำขององค์ทุรโยธน์และพรรคพวกครั้งนี้ ผิดทำนองคลองธรรมและ
                     ประเพณีอันดีงามเป็นอย่างยิ่ง ขอพระองค์ทรงยับยั้งการกระทำของโอรสเสียเดี๋ยวนี้โดยเด็ด

                     ขาด มิฉะนั้นแล้ว แผ่นดินหัสตินาปุระจะลุกเป็นไฟโดยแน่แท้’ แต่ท้าวธฤตราษฎร์ทรงฟัง
                     แล้วไม่ตรัสอะไรต่อการกระทำที่ผิดทำนองคลองธรรมดังกล่าว” (กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย,
                     2550:88)


                       หรือในอีกตัวบทหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงการรู้เห็นเป็นใจและยังร่วมมือกับบุตรในการกระทำผิดเมื่อ
                  ครั้งที่พี่น้องฝ่ายปาณฑพแพ้พนันจากการเล่นสกากับศกุนิครั้งแรก แล้วท้าวธฤตราษฏร์สำนึกและคืน

                  ทุกสิ่งทุกอย่างที่เดิมพันให้แก่ฝ่ายปาณฑพ แต่ยังไม่ทันที่ฝ่ายปาณฑพจะออกจากเมืองหัสตินาปุระ
                  ท้าวธฤตราษฏร์ก็ทรงเปลี่ยนพระทัยมาเข้าข้างบุตรเช่นเดิมอีก ดังเห็นได้จาก


                          “ท้าวธฤตราษฎร์มีบัญชาให้นายสารถีประติการีบไปตามพี่น้องปาณฑพให้กลับมาเล่น

                     สกากันอีกครั้งทั้งที่ทราบดีว่าฝ่ายเการพซึ่งเป็นลูกของพระองค์ที่เป็นฝ่ายท้าพนันสกา
                     มีเจตนาไม่บริสุทธิ์ตั้งแต่แรก...โดยทุรโยธน์อ้างต่อท้าวธฤตราษฎร์ ผู้เป็นบิดาว่าเพื่อความ
                     อยู่รอดปลอดภัยของนครหัสตินาปุระและราชตระกูลเการพ...แผนการนี้จะสำเร็จได้ ก็ต้อง

                     เชิญยุธิษฐิระกับน้องๆให้กลับมาเล่นสกากับศกุนิใหม่โดยมีเงื่อนไขการเล่นคือใครแพ้ต้องไป
                     อยู่ป่า โดยท้าวธฤตราษฎร์เห็นด้วยกับคำพูดของลูก…แม้ว่านางคานธารีจะได้คัดค้านเพื่อให้

                     พี่น้องสองตระกูลได้สิ้นความเป็นศัตรูกันก็ตาม...” (กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย, 2550:91)

                       จากตัวบทแรก ย่อมแสดงให้เห็นว่าการกระทำของบิดานั้นเท่ากับรู้เห็นเป็นใจในการกระทำ

                  ของบุตรที่ผิดต่อแบบแผนประเพณีที่ดีงามมาแต่อดีตโดยรังแกหญิงผู้หมดทางสู้ ถือเป็นการ
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   ภายในครอบครัวเป็นหลักใหญ่โดยรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำผิดของบุตรที่เห็นอย่างชัดเจนว่า
                  สนับสนุนให้บุตรกระทำสิ่งที่ขัดต่อจารีตในอดีต ทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นว่าหากถือเอาความสัมพันธ์



                  ขัดต่อหลักการอยู่ร่วมกันของสังคมโดยไม่เข้าห้ามปรามแล้ว สังคมจะอยู่ได้อย่างไร ซึ่งในที่นี้
                  เป็นการตั้งประเด็นคำถามที่เป็นสถานการณ์เฉพาะที่บิดามีโอกาสหรือความสามารถที่จะเข้า

                  ห้ามปรามระหว่างที่บุตรกระทำผิดได้แต่ไม่ทำ ดังที่มหามติวิทูรพยายามเสนอให้ผู้เป็นบิดา
   242   243   244   245   246   247   248   249   250   251   252