Page 246 - kpi15476
P. 246

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   245


                      สังคม คือ ฤๅษีวฺยาส ที่มีอำนาจบารมีส่วนบุคคลมาช่วยยืนยันถึงความชอบธรรมในการกระทำที่
                      ไม่เป็นไปตามจารีตว่า “สิ่งที่ปฏิบัติเป็นผลมาจากที่พระศิวะทรงกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้วว่าเธอจะ

                      ต้องแต่งงานกับชาย 5 คนพร้อมกัน เพราะเมื่อชาติก่อนนางเทฺราปทีบำเพ็ญภาวนาขอประทาน
                      สามีผู้เพียบพร้อมต่อพระศิวะ เมื่อพระศิวะเทพปรากฏกายด้วยอารามดีใจจึงได้ทูลขอถึง 5 ครั้ง
                      ทำให้พระศิวะประทานพรให้ว่าจะได้สามีที่ดี 5 คนเป็นคู่ครองพร้อมกัน” (กรุณา-เรืองอุไร

                      กุศลาสัย, 2550:66) เท่ากับเป็นการให้คำอธิบายบนฐานความเชื่อที่มีอยู่เดิมของสังคมต่อการ
                      กระทำดังกล่าวเพื่อให้คนในสังคมยอมรับ


                            จากจุดนี้จึงเป็นการชี้ให้เห็นว่าความรู้ได้กลายเป็นเครื่องมือที่ทำให้คนทั่วไปยอมรับในการ
                      กระทำที่แปลกแยกไปจากกฎเกณฑ์ทางสังคม เป็นเครื่องตอบสนองการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

                      ของมนุษย์โดยไม่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกัน ดังที่ฤๅษีวฺยาสต้องมาชี้แจงให้ฟังเพื่อให้ทุกคน
                      ยอมรับการกระทำดังกล่าว ไม่ให้มัวมาเสียเวลาโต้เถียงการปฏิบัติที่ต้องเลือกระหว่างความถูกกับ

                                                                                                               3
                      ผิดกันอยู่ ในเมื่อเราไม่สามารถมีคำตอบที่ชัดเจนได้ จึงจำเป็นต้องตัดสินทั้งๆ ที่ไม่รู้แน่ชัด
                      หากผู้ใดสามารถอธิบายความคิดหรือนำเสนอความรู้นั้นให้สอดคล้องกับความเชื่อของคนในสังคม
                      ได้มากก็สามารถหว่านล้อมโน้มน้าวความคิดของตนเองให้คนอื่นเชื่อถือและยอมรับได้ โดยเฉพาะ

                      หากผู้นั้นเป็นที่ยอมรับนับถือในสังคมอยู่ด้วยแล้ว คำพูดหรือการอธิบายของผู้นั้นก็ย่อมจะเป็นที่น่า
                      เชื่อถือและปฏิบัติตามได้ง่ายแม้ว่าจะเป็นการเปลี่ยนกฎเกณฑ์ที่เคยมีอยู่ก่อนก็ตาม ดังที่กล่าวถึง

                      พระศิวะเทพอันเป็น ความเชื่อในเทพเจ้าที่คนในสังคมบูชานับถือจนสร้างความชอบธรรมในการ
                      อภิเษกสมรสระหว่างนางเทฺราปทีกับพี่น้องปาณฑพทั้งห้า ทำให้ไม่มีใครสงสัยเคลือบแคลงในการ
                      กระทำเช่นนี้อีกต่อไป คำพูดจึงถูกเชื่อมโยงกับความมีคุณธรรมของผู้พูดที่สามารถนำมาสู่

                      กฎเกณฑ์ในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน ในที่นี้ คือ คำพูดของนางกุนตีและฤๅษีวฺยาสที่ได้สร้างกฎเกณฑ์
                      ทางสังคมขึ้นใหม่จากสัจจะในความสัมพันธ์ของครอบครัว ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่เชื่อมโยงให้เห็นว่าสัจจะ

                      ในครอบครัวสามารถโยงไปถึงความเป็นไปในสังคมโดยเฉพาะกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันได้

                            ในการตอบคำถามข้างต้นที่ว่า ขงจื่อจะมองว่าคำพูดของผู้มีอาวุโสและมีคุณธรรมมีความ

                      สำคัญมากกว่ากฎเกณฑ์ทางสังคมหรือสามารถนำไปสู่การกลายเป็นกฎเกณฑ์ใหม่ที่ยอมรับร่วม
                      กันได้หรือไม่ อย่างไร หากเปรียบเทียบกับปรัชญาขงจื่อ อาจมองได้ว่า แม้นางกุนตีจะเป็นผู้มี

                      อาวุโสและมีคุณธรรม แต่คำพูดของนางที่กล่าวออกมาในสถานการณ์ขณะนั้นก็ไม่ได้กล่าวใน
                      บริบทที่พิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วน เพราะเชื่อได้แน่ว่า หากนางกุนตีเห็นว่าสิ่งที่พี่น้องปาณฑพ
                      ทั้งห้าได้มานั้นคือนางเทฺราปที นางกุนตีจะไม่พูดเช่นนั้นเป็นอันขาดเพราะจากตัวบทที่กล่าวว่า

                      “นางกุนตีเองก็ไม่ทราบจะแก้ไขประการใดดี เพราะได้ลั่นวาจาออกไปเสียแล้ว” (กรุณา-เรืองอุไร
                      กุศลาสัย, 2550:64)และที่สำคัญเจตนาของนางกุนตีเองที่แฝงในคำพูดก็หมายความอย่างชัดเจน

                      ถึงการแบ่งปันสิ่งของที่เป็นวัตถุไม่ใช่ตัวบุคคล หากวาจานั้นมีความศักดิ์สิทธิบนความมีสัจจะถึง


                          3   ความรู้แบบ Praxis เป็นการตัดสินที่เลือกระหว่างความถูกต้องกับความผิด ความดีกับความเลว ความสวยกับ
                      ความน่าเกลียด เป็นความสำคัญของการมีชีวิต ในความหมายแบบ Praxis เราไม่มีทางมีคำตอบที่ชัดเจนได้เพราะเรา
                      ไม่สามารถรู้ได้ทั้งหมด เป็นความรู้ที่ไม่ชัดเจนต้องอาศัยการตัดสิน สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถมีคำตอบชัดเจนตายตัวได้ขึ้น  เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
                      อยู่กับสถานการณ์และบริบทแต่เป็นความรู้ที่ต้องวินิจฉัยลงไป (deliberate) แม้จะต้องตัดสินทั้งๆ ที่ไม่มีความรู้
                      ที่แน่ชัดหรือจริงแท้
   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250   251