Page 251 - kpi15476
P. 251
250 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
ปรัชญาขงจื่อในคัมภีร์หลุนอวี่ ปรัชญาฮินดูในมหาภารตยุทธ
2. ประเด็นการให้สัจจะ การให้ความเคารพเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำพูดของผู้อาวุโสและมีคุณธรรม
วาจาในครอบครัวสัมพันธ์ (เหมือนกัน)
กับกฎเกณฑ์ทางสังคม
- การปฏิบัติตามจารีตเป็นหลักสำคัญใน - สัจจะวาจาของมารดาที่ลูกต้องปฏิบัติ
การประพฤติตนอย่างเหมาะสม คำพูด ตามแม้จะขัดต่อจารีต แต่ได้นำไปสู่การ
หรือการกระทำของบิดามารดาอาจมีผิด กลายเป็นกฎเกณฑ์ใหม่ที่ยอมรับร่วมกัน
ที่บุตรย่อมทัดทานได้ด้วยความนบนอบ ของคนในสังคม โดยอาศัยความรู้ที่
หากท่านไม่ฟังก็ยังต้องเคารพโดยมิโกรธ อธิบายจากผู้ที่น่าเชื่อถือในสังคม
3. ประเด็นการรู้เห็น - การอำพรางความผิดของคนใน - สะท้อนการรู้เห็นเป็นใจในการกระทำ
เป็นใจในการกระทำผิดกับ ครอบครัว เป็นการปกปิดความผิดที่ได้ ความผิดของคนในครอบครัวที่บิดาเห็น
การอำพรางความผิด เกิดขึ้นแล้ว โดยที่บิดาไม่ได้รู้เห็นในการ ชอบด้วยกับการกระทำผิดของบุตรและ
กระทำผิดของบุตร หรือบุตรไม่ได้รู้เห็น ร่วมกระทำผิดทั้งๆที่รู้ว่าการกระทำ
ในการกระทำผิดของบิดา ดังกล่าวจะเป็นเหตุให้พี่น้องเป็นศัตรูกัน
โดยสรุป จากการศึกษาตัวบทของทั้งสองปรัชญา จะมีความคล้ายคลึงกันของทั้งสองตัวบท
ในการมองสังคมแบบโครงสร้างหน้าที่ จากปรัชญาขงจื่อที่พยายามชี้ให้เห็นว่าปัญหาสังคมที่เกิด
ความวุ่นวายขึ้นเป็นเพราะบทบาทไม่เป็นไปตามนามหรือฐานะนั้น กล่าวคือ เพราะพ่อแม่ไม่ทำ
หน้าที่ของพ่อแม่ บุตรไม่ทำหน้าที่ของบุตร ครอบครัวจึงเดือดร้อน กษัตริย์ไม่ทำหน้าที่ของกษัตริย์
ขุนนางไม่ทำหน้าที่ของขุนนาง รัฐจึงเดือดร้อน ส่วนปรัชญาฮินดูในมหาภารตยุทธจะมองว่าความ
วุ่นวายในสังคมจะเกิดขึ้นหากกษัตริย์ไม่ทำหน้าที่ของกษัตริย์ ทำให้ไม่สามารถปกป้องระเบียบ
สังคมไว้ได้หรือไม่สามารถทำให้ผู้ใต้ปกครองปฏิบัติตามหน้าที่ในวรรณะของตนเอง ทั้งสองปรัชญา
จึงมองว่าความวุ่นวายต่างๆจะหายไปเมื่อบุคคลปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะของตน (ปรัชญาฮินดู)
หรือเมื่อมีความชอบธรรมในฐานะแห่งนามนั้น (ปรัชญาขงจื่อ) แต่ทั้งสองปรัชญาจะมองแตกต่าง
กันในการเสนอทางออกสำหรับปัญหาความขัดแย้งในบทบาทหน้าที่ของบุคคลระหว่างหน้าที่ต่อ
ครอบครัวและหน้าที่ต่อรัฐ กล่าวคือ ปรัชญาขงจื่อจะมองว่าครอบครัวเป็นสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดที่
ต้องรักษาไว้เป็นอันดับแรก (หน่วยย่อยต้องทำให้ดีก่อนหน่วยใหญ่) ส่วนในมหาภารตยุทธจะมอง
ว่าครอบครัวซึ่งเป็นหน่วยย่อยจะดำรงอยู่ได้จำเป็นต้องมีรัฐที่เป็นปึกแผ่นและมั่นคงเสียก่อน
(หน่วยใหญ่ต้องทำให้ดีก่อนหน่วยย่อย)
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย