Page 248 - kpi15476
P. 248

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   24


                      หยุดการกระทำของบุตรที่ขัดต่อจารีต มิฉะนั้นรัฐหรือสังคมโดยรวมจะเกิดความเดือดร้อน ซึ่งจะ
                      แตกต่างจากกรณีในปรัชญาขงจื่อที่การปกปิดความผิดให้กับคนในครอบครัวนั้น เป็นความผิดที่ได้

                      กระทำลงไปแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาในภายหลังที่ขงจื่อมองว่าควรทำ ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจกับการ
                      กระทำผิดมาตั้งแต่ต้น ส่วนตัวบทที่สองที่ยกมาจากมหาภารตยุทธ จะมองได้ว่าเป็นการกระทำ
                      ของบิดาที่รู้เห็นเป็นใจจน เข้าข่ายสมคบคิดวางแผนกับบุตรในการกระทำความผิด กล่าวคือ รู้อยู่

                      ว่าสิ่งที่บุตรกระทำนั้นเป็นความผิดก็ไม่เข้าห้ามปราม ซ้ำยังให้การสนับสนุนและเห็นดีด้วยกับการ
                      กระทำดังกล่าวจนออกหน้าเองที่จะรับสั่งให้ไปตามฝ่ายปาณฑพเพื่อให้กลับมาเล่นพนันสกาอีกครั้ง

                      โดยรู้ว่าผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็นอย่างไร เท่ากับส่งเสริมให้พี่น้องสองตระกูลเป็นศัตรูกันโดย
                      ปราศจากภราดรธรรม หากมองจากปรัชญาขงจื่อ อาจมองได้ว่าเป็นเพราะผู้ปกครองขาด
                      จริยธรรมภายในครอบครัวอันมีรากฐานจากกตัญญุตาธรรมและภราดรธรรมจึงส่งผลที่กระเทือน

                      ต่อสังคมส่วนรวมในอาณาจักรของตนเอง รวมทั้งอาณาจักรพันธมิตรน้อยใหญ่ จนนำไปสู่สงคราม
                      อันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ ผู้ปกครองในที่นี้จึงเปรียบได้ดังต้นลมที่พัดพาเอาต้นหญ้าไปในทิศทาง

                      ที่มีไฟป่าจนพากันลุกลามเผาผลาญวอดวายไปตามๆ กัน

                            การรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำผิดจึงแตกต่างจากการอำพรางความผิด ที่การอำพรางความ

                      ผิดนั้นเกิดจากการกระทำความผิดของตัวบิดาหรือบุตรเอง โดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ให้การ
                      สนับสนุนในระหว่างกระทำความผิดนั้นหรือแม้แต่สมคบคิดวางแผนที่จะกระทำความผิดนั้น ต่อ

                      เมื่อความผิดนั้นๆได้เกิดขึ้นแล้ว บิดาจะปกปิดอำพรางความผิดของบุตร หรือบุตรจะปกปิด
                      อำพรางความผิดของบิดา ซึ่งประเด็นการอำพรางความผิดนี้จะอยู่ในปรัชญาของขงจื่อ แต่ในตัวบท
                      จะไม่ได้กล่าวถึงเพียงแค่ประเด็นที่บุตรอำพรางความผิดให้บิดาเท่านั้น ในบางตัวบทจะมีประเด็นที่

                      แม้แต่ตัวขงจื่อเองก็ยังอำพรางความผิดให้กับเจ้าแคว้นทั้งๆที่ไม่ใช่คนในครอบครัวซึ่งเชื่อมโยงกับ
                      ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในรัฐ ดังตัวบทที่ว่า


                               ตุลาธิบดีแห่งแคว้นเฉินถามขงจื่อว่า “หลู่เจากงทรงรู้จริยธรรมหรือไม่?” ขงจื่อตอบว่า
                         “รู้” หลังจากขงจื่อไปแล้ว ก็คำนับเชิญอูหม่าฉีเข้ามาใกล้แล้วพูดว่า “ข้าได้ยินมาว่าวิญญูชน

                         จะไม่ช่วยอำพรางความผิดของผู้อื่น หรือว่าวิญญูชนจะช่วยอำพรางความผิดกระนั้นฤา?
                         เจ้าแคว้นหลู่เจากงทรงอภิเษกสมรสกับสตรีแห่งแคว้นอู๋ซึ่งมีสกุลเดียวกัน และจากนั้นยัง

                         พระราชทานนามให้ว่า อู๋หมิงจื่ออีก หากกล่าวว่าเจ้าแคว้นหลู่เจากงทรงรู้จริยธรรม แล้วใคร
                         ล่ะที่ไม่รู้จริยธรรม?” อูหม่าฉีนำความกลับมาถ่ายทอดให้ขงจื่อฟัง ขงจื่อกล่าวว่า “ข้าข่งชิว
                         โชคดียิ่งนัก ครั้นมีผิด ผู้คนจักต้องรู้” (คัมภีร์หลุนอวี่, 2549:199)


                            จากตัวบท เป็นที่น่าสังเกตว่า เพราะเหตุใดขงจื่อจึงกระทำการเช่นนี้ที่ยอมอำพรางความผิด

                      ให้ผู้อื่น ขงจื่อยอมที่จะให้ตนเองเสียความน่าเชื่อถือในเรื่องสัจจะมากกว่าที่จะยอมให้เจ้าแคว้น
                      เสียชื่อเสียงทั้งที่ไม่ใช่คนในครอบครัว ทั้งๆ ที่ขงจื่อเองก็ตระหนักเสมอว่าต้องให้ความสำคัญกับ
                      “วาจาสัตย์” ที่ไม่ใช่เพียงแต่จะทำให้คำพูดของผู้พูดมีน้ำหนักและเป็นที่น่าเชื่อถือเท่านั้น ยังทำให้

                      การพูดนั้นเกิดผลสัมฤทธิ์ในการเจรจา เพราะตำหนิบนวาจาจะมิอาจแก้ไขได้ คำพูดนั้นจึงทำให้
                      เกิดสิ่งที่ดีและไม่ดี ดังที่ขงจื่อยอมเสียชื่อเสียงเพราะอำพรางความผิดให้เจ้าแคว้น เพราะถึง          เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย

                      อย่างไรก็มีคนที่รู้ความจริงและจับผิดได้อยู่ดังที่ตุลาธิบดีทราบความ แต่หากพิจารณาลงไปให้ลึกซึ้ง
   243   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253