Page 249 - kpi15476
P. 249

24      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  แล้ว ใช่ว่าขงจื่อจะเห็นชอบด้วยกับการกระทำของเจ้าแคว้นหลู่ ดังที่ “เจ้าแคว้นหลู่เจากงเคยถูก
                  ขงจื่อถวายฎีกาทัดทานมาแล้วหลายครั้ง” (คัมภีร์หลุนอวี่, 2549:198) เพียงแต่ขงจื่ออาจไม่

                  ต้องการให้ผู้คนโดยทั่วไปรับรู้ความผิดของเจ้าแคว้นจากปากของตนโดยตรงเพราะคำพูดของขงจื่อ
                  ย่อมมีน้ำหนักที่น่าเชื่อถือแก่คนทั่วไปได้มากและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ขงจื่อจึงยอมที่จะ
                  เสียชื่อเสียงต่อตุลาการแคว้นอื่นหรือคนที่รับรู้ความผิดของเจ้าแคว้นนี้เพียงไม่กี่คนมากกว่าจะยอม

                  ให้พระเกียรติของเจ้าแคว้นเสียไปในลักษณะที่กว้างขวางอันเกิดจากคำพูดของขงจื่อเอง


                       อีกเหตุผลหนึ่งของความจำเป็นที่ต้องอำพรางความผิดให้เจ้าแคว้นในกรณีนี้ ขงจื่ออาจมอง
                  ว่า พลังจริยธรรมของผู้ปกครองนั้นจะมีฐานะเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของผู้ใต้ปกครองซึ่ง
                  เป็นหน่วยย่อยต่างๆ ในสังคมได้มาก ดังนั้นความสัมพันธ์ภายในครอบครัวของผู้ปกครองเองจึง

                  ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ประชาชนซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติตาม เพราะขงจื่อมองว่ามนุษย์ส่วนใหญ่เป็น
                  ผู้ตามแต่ ไม่ทุกคนที่จะปฏิบัติตามได้อย่างมีปัญญาที่จะพิจารณาว่าสิ่งใดถูกต้อง สิ่งใดควรกระทำ

                  ดังนั้นผู้ปกครองจะต้องปฏิบัติตัวให้เป็นผู้มีจริยธรรมเพื่อจะเป็นต้นลมที่ดีพัดพายอดหญ้าไปถูก
                  ทิศทาง หากมองในทางกลับกัน สังคมได้ผู้ปกครองที่เลว ไร้ซึ่งจริยธรรม ผลที่ตามมาจากการที่
                  ประชาชนปฏิบัติตามย่อมจะส่งผลที่เลวร้ายเนื่องด้วยประชาชนไม่อาจพิจารณาได้ว่าสิ่งใดดีสิ่งใด

                  เลวได้ เพราะประชาชนมีความสามารถที่จะเรียนรู้ได้แตกต่างกัน


                       อย่างไรก็ตาม ในบางตัวบทของปรัชญาขงจื่อ จะสะท้อนว่าหน้าที่ต่อรัฐในฐานะขุนนางรับใช้
                  ผู้ปกครองยังสำคัญน้อยกว่าจริยธรรมในครอบครัว ดังตัวบทที่ขงจื่อว่า “‘...อันว่ามหาเสวกนั้น
                  จะรับใช้เจ้านครด้วยคุณธรรม หากมิอาจทำได้ก็จะขอลาออกจากตำแหน่ง แต่สำหรับจื่อลู่กับ

                  หยั่นฉิวนี้ ก็เป็นได้เพียงขุนนางที่ทำหน้าที่ได้ดีเท่านั้น’ จี้จื่อหยานถามอีกว่า ‘ถ้าอย่างนั้นจะถือว่ามี
                  ความเชื่อฟังไม่ขัดฝืนได้หรือไม่?’ ขงจื่อกล่าวว่า ‘หากให้ไปสังหารบิดาหรือเจ้านครแล้ว พวกเขา

                  ไม่ปฏิบัติตามหรอก’” (คัมภีร์หลุนอวี่, 2549:246) ตีความได้ว่า การเป็นขุนนางไม่ใช่สักแต่ว่าทำ
                  ตามเจ้านครทุกอย่างโดยไม่พิจารณาถึงคุณธรรม ถึงจะรับใช้เจ้านครอย่างสุดความสามารถก็ต้อง
                  กอปรด้วยคุณธรรม โดยเฉพาะหลักคุณธรรมในครอบครัวที่ต้องถือเป็นแก่นใหญ่ หากเจ้านคร

                  ใช้ให้ไปสังหารบิดาของตนเองก็ไม่อาจจะทำตามได้ แม้จะถือว่าเป็นการขัดคำสั่งของเจ้านคร
                  ในหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาก็ตาม หรือแม้แต่การสังหารตัวเจ้านครเองก็ไม่อาจทำได้เพราะถือว่า

                  เป็นผู้มีบุญคุณที่ต้องกตัญญูกตเวที จะเห็นได้ว่าประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องหน้าที่เพียงอย่างเดียว แต่จะมี
                  หลักความกตัญญูเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และถ้าให้เลือกแล้วความกตัญญูต่อบิดาก็สำคัญมากกว่า
                  ความกตัญญูต่อเจ้านคร


                       โดยสรุป จากมหาภารตยุทธ จะสะท้อนถึงการกระทำของบิดาที่รู้เห็นเป็นใจสมคบคิด

                  วางแผนกับบุตรในการกระทำความผิด กล่าวคือ รู้อยู่ว่าสิ่งที่บุตรกระทำนั้นเป็นความผิดก็ไม่เข้า
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   เดือดร้อนต่อผู้อื่น เท่ากับส่งเสริมให้พี่น้องสองเป็นศัตรูกันโดยปราศจากภราดรธรรมนำไปสู่ความ
                  ห้ามปราม และยังเห็นดีด้วยกับการกระทำดังกล่าวโดยรู้ว่าผลลัพธ์ที่ออกมาจะสร้างความ



                  วุ่นวายในสังคมอันมีสาเหตุมาจากการไม่มีจริยธรรมของผู้ปกครอง ซึ่งประเด็นการรู้เห็นเป็นใจใน
                  การกระทำผิดนี้จะแตกต่างจากประเด็นการอำพรางความผิดในปรัชญาขงจื่อ ที่การอำพรางความ

                  ผิดนั้นเกิดจากการกระทำความผิดของตัวบิดาหรือบุตรเอง โดยที่อีกฝ่ายไม่ได้ให้การสนับสนุน
   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253   254