Page 257 - kpi15476
P. 257

25      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จะเห็นได้ว่าทั้งฝ่ายพันธมิตรฯ และ นปช. แม้จะขัดแย้งกันทางการเมือง
                  แต่ต่างก็เรียกร้อง “ประชาธิปไตย” หากมีความเข้าใจและข้อเรียกร้องในเรื่องประชาธิปไตยและ

                                     2
                  ราชาธิปไตยที่ต่างกัน
                       ความขัดแย้งกันทางการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ (protracted)

                  ทำให้เกิดความรุนแรงเป็นครั้งคราว (พ.ศ. 2549 2551-3) และยังไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลายได้
                  โดยง่าย บทความนี้ไม่สามารถศึกษาความขัดแย้งที่ซับซ้อนนี้ได้อย่างรอบด้าน หากประสงค์ที่จะ

                  ศึกษาเฉพาะความขัดแย้งทางความคิดและความเชื่อในเรื่องสถาบันพระมหากษตริย์หรือ
                  ราชาธิปไตย (monarchy) กับประชาธิปไตยไทย เพราะคิดว่าประเด็นนี้ยังต้องการพื้นที่การ
                  ถกแถลง (deliberation) สาธารณะเพิ่มขึ้น เพื่อที่จะทำความเข้าใจและก้าวพ้นขีดแบ่งทาง

                  วัฒนธรรมการเมือง ซึ่งเป็นเสมือนสิ่งที่อบอวลอยู่ในบรรยากาศ หนักอึ้งด้วยภยาคติ แต่ก็อยู่ในใจ
                  และในการซุบซิบกันของหลายๆ คน



                  วัฒนธรรมเลขสองของการบูชา



                       การต่อสู้ทางความคิดความเชื่อย่อมมีผู้เรียกร้องสนับสนุน (advocators) ทั้งสองฝ่าย
                  โจฮาน กัลตุง  ปรมาจารย์ด้านสันติศึกษาอธิบายว่า ความยากลำบากในการแปลงเปลี่ยนความขัด
                              3
                  แย้งทางสังคมที่ยืดเยื้อนั้น ส่วนหนึ่งมาจากวัฒนธรรมส่วนลึก โดยยกตัวอย่างวัฒนธรรมดังกล่าว
                  ในชื่อย่อว่า DMA อักษร D ย่อมาจาก Dualism ซึ่งมักนิยมแปลว่าทวิลักษณ์ แต่ในที่นี้ขอใช้คำว่า
                  วัฒนธรรมเลขสอง คือแนวโน้มที่จะเห็นในทุกสิ่งทุกอย่างว่า มีภาคี/ประเด็น/ทางเลือก ฯลฯ เพียง

                  สองภาคีเท่านั้น อักษร M ย่อมาจาก Manicheism คือแนวโน้มที่จะเห็นว่าภาคีหนึ่งเป็นฝ่ายเทพ
                  อีกภาคีหนึ่งเป็นฝ่ายมาร หรือเห็นว่า ประเด็น/ทางเลือกของเราถูก ของเขาผิด เป็นต้น ส่วน

                  อักษร A ย่อมาจาก Armageddon ซึ่งเป็นความเชื่อว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ (เห็นแต่เลขสองและถือว่า
                  เราถูก) ก็ต้องสู้กันให้แตกหักรู้แพ้รู้ชนะกันไปเลย จะไปคุยกับโจรหรือประนีประนอมกับฝ่ายมาร
                  ย่อมไม่ได้


                       กลุ่มผู้เรียกร้องฝ่ายหนึ่งนำเสนอความคิดความเชื่อเรื่องธรรมราชา ไปจนถึงการเรียกร้องให้

                  ถวายคืนพระราชอำนาจ ให้พระมหากษัตริย์ทรงมีบทบาททางการเมืองคล้ายสมัย
                  สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทั้งนี้โดยอาศัยการสื่อสารที่เข้าลักษณะการบูชาบุคลิกภาพ (personality

                  cult) กลุ่มผู้เรียกร้องอีกฝ่ายหนึ่งนำเสนอความคิดความเชื่อเรื่องประชาธิปไตยสมบูรณ์
                  ให้พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญซึ่งมีบทบัญญัติคล้ายกับธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม
                  ชั่วคราว พ.ศ. 2475 “เพื่อบ้านเมืองจะได้เจริญขึ้น” ทั้งนี้โดยอาศัยการสื่อสารที่เข้าลักษณะ
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย     United Nations Resident Coordinator Office; Bangkok, pp. 30-32
                  การบูชาประชาชน





                        McCargo D. and Tanruangporn P., 2013; Thailand Grievances Analysis: A Report for the
                     2



                        Galtung, Johan, 2004; Transcend and Transform; London, Pluto Press, pp. 154-5
                     3
   252   253   254   255   256   257   258   259   260   261   262