Page 258 - kpi15476
P. 258

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   25


                            หากไม่มีการก้าวพ้น (transcendence) วัฒนธรรมเลขสอง (D: dualism) ของการบูชา
                      (M: การแบ่งเทพ/มาร) ดังกล่าว ก็เกรงว่าวัฒนธรรมนี้นำไปสู่การต่อสู้จนแตกหัก (A) ได้

                      จึงน่าที่จะพิจารณาหาพื้นที่ที่ความคิดความเชื่อทั้งสองชุดมีร่วมกันหรือเหลื่อมกัน (overlapping)
                      อันอาจเป็นวิสัยทัศน์ในการพัฒนาสังคมการเมืองร่วมกันต่อไป การเสนอพื้นที่ร่วมดังกล่าวไม่ใช่
                      เป็นเรื่องง่าย แต่ก็อยากทดลองเสนอตัวอย่างของคำกล่าวที่อาจมีความเห็นพ้องกัน เช่น

                      “การปกครองโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน” ฝ่ายหนึ่งอาจเรียกร้องธรรมมิกราชา หรือ
                      ประมุขของรัฐผู้ทรงธรรม อีกฝ่ายหนึ่งอาจเรียกร้องประชาธิปไตยที่ตอบสนองความจำเป็นพื้นฐาน

                      ของประชาชน เราจึงควรพยายามวางกรอบ (frame) และตั้งชื่อ (name) ความคิดความเชื่อที่อาจ
                      มีร่วมกัน ในที่นี้ ขอทดลองเสนอกรอบและชื่อว่า “ธรรมิกประชาราช”


                      ภยาคติ




                            นอกจากจะมีวัฒนธรรมเลขสองที่เป็นอุปสรรคต่อการก้าวพ้นดังกล่าวแล้ว ความกลัวหรือ
                      ภยาคติเป็นอุปสรรคอีกประการหนึ่ง สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง  เสนอว่า “ในพลสูตรอังคุตตรนิกาย
                                                                             4
                      นวกนิบาต พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงแรงผลักดันทางจิตวิทยาจากความกลัวต่อภัย 5 ระดับที่มี
                      อิทธิพลกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ ... โดยเมื่อความกลัวต่อภัยระดับที่หยาบกว่าได้รับการ
                      คลี่คลายให้ลดน้อยลงแล้ว แรงบีบคั้นจาก ความกลัวต่อภัยที่ละเอียดกว่าในลำดับขั้นถัดไป ก็จะ

                      แสดงอิทธิพลครอบงำพฤติกรรมของมนุษย์แทนที่ ... อันทำให้ทฤษฎีความกลัว 5 ระดับ มี
                      ลักษณะสอดคล้องสัมพันธ์กับทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้น 5 ขั้นของ อับราฮัม เอช มาสโลว์”

                      ได้แก่

                             1.   อาชีวตภัย (ความกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยการดำรงชีวิต) ได้ผลักดันให้มนุษย์เกิดความ

                                ต้องการทางกายภาพ เช่น ปัจจัย 4


                             2.   อสิโลกภัย (ความกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยการถูกโลกตำหนิ) ทำให้มนุษย์แสวงหาความ
                                ยอมรับทางสังคม


                             3.   ปริสสารัชภัย (ความกลัวต่อภัยอันคือความสะทกสะท้านในบริษัท) ทำให้มนุษย์
                                แสวงหาความมั่นใจและความภาคภูมิใจในตัวเอง


                             4.  มรณภัย (ความกลัวต่อภัยคือความตาย) ทำให้มนุษย์หาวิถีทางเพื่อดำรงตัวตนต่อไป
                                หลังความตาย เช่น โดยการสืบเผ่าพันธุ์ หรือหาทายาทเป็นตัวแทน


                             5.   ทุคติภัย (ความกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยที่ไปที่ไม่ดี หรือไม่ใช่สุคติ) ทำให้มนุษย์แสวง

                                ความจริงเกี่ยวกับตัวเอง (self-realization) เพื่อให้สามารถเดินสู่อนาคต (ทั้งโลกนี้และ
                                โลกหน้า?) ได้อย่างเหมาะสม




                          4   สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง, 2522; ทางออกวิกฤติความขัดแย้งแตกแยกในระบบสังคมการเมืองไทย; บริษัท    เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
                      ดินน้ำฟ้า จำกัด, กรุงเทพฯ น. 9-15
   253   254   255   256   257   258   259   260   261   262   263