Page 262 - kpi15476
P. 262
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 2 1
ในการเปรียบเทียบความเห็นระหว่างฝ่ายสาธารณรัฐกับฝ่ายราชาธิปไตยนั้น นาธาเนียล
ฮาร์ริส ได้เสนอความเห็นของฝ่ายสาธารณรัฐดังนี้
11
“ผู้นิยมสาธารณรัฐเกือบทั้งหมดไม่ได้ต่อต้านราชาธิปไตยเพียงเพราะความประพฤติ
ของกษัตริย์รายพระองค์ พวกเขาเชื่อว่าราชาธิปไตย รวมทั้งราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
ล้วนไม่ถูกต้องในหลักการ ด้วยมีพื้นฐานบนแนวคิดที่ว่า ‘เลือดเจ้า’ (royal blood) คือ
สิ่งพิเศษ เป็นที่แน่ชัดว่ากษัตริย์เป็นบุคคลพิเศษ (เพียงเพราะได้รับการขัดเกลาด้วยชีวิต
ที่มีอภิสิทธิ์แและความมั่งคั่งเท่านั้น) เกือบทุกคนในปัจจุบันเห็นพ้องว่าตำแหน่งหน้าที่ของ
บุคคลในโลกนี้ ควรใช้บรรทัดฐานที่การทำงาน ความสามารถ และผลงาน แต่บรรดา
กษัตริย์และสมาชิกในราชวงศ์ ล้วนได้รับตำแหน่งหน้าที่มาด้วยเหตุบังเอิญแห่งการสมภพ
... จึงมีการให้เหตุผลว่า ระบอบราชาธิปไตยสนับสนุนสังคมทัศน์และโลกทัศน์ที่ผิดทางและ
ล้าสมัย”
ส่วนฝ่ายราชาธิปไตยให้เหตุผลถึง “ความสำคัญของประเพณีที่ยึดเหนี่ยวสังคมไว้ด้วยกัน ...
การที่คนธรรมดาแสดงความรู้สึกจงรักภักดีอย่างแรงกล้าต่อบุคคลในราชวงศ์นั้น เป็นการ
แสดงออกที่เป็นธรรมชาติและทรงคุณค่า ... ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น ความรู้สึกทางจิตใจย่อม
มีศูนย์รวมที่ตัวผู้นำ”
มารค ได้วิเคราะห์การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
12
ไว้อย่างแยบยล เขาเริ่มด้วยการวิเคราะห์เหตุผลรองรับระบอบประชาธิปไตยโดยทั่วไป เพื่อตอบ
คำถามว่า การมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขทำให้คุณค่าใดขาดหายไปหรือไม่ เขาพบคำตอบ
ว่าไม่น่าจะมีคุณค่าใดขาดหายไปเว้นแต่ว่าพลเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองระบอบนี้ไม่มี
ความอิสระทางศีลธรรมเพียงพอ แต่การปกครองระบอบนี้สามารถแก้จุดอ่อนนี้ได้ “โดยที่
พระมหากษัตริย์ทรงให้โอกาสพลเมืองไตร่ตรองตัดสินเรื่องต่างๆ เชิงบรรทัดฐานซึ่งเกี่ยวกับวิธีอยู่
ร่วมกันในสังคมโดยไม่ครอบงำในเรื่องเฉพาะแต่ละเรื่อง แต่ให้แต่ละคนคิดในกรอบใหญ่ของ
ศาสนาหรือระบบจริยธรรมของตนเอง” ในอีกด้านหนึ่ง การมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอาจ
แก้จุดอ่อนประการหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยโดยทั่วไปได้ “โดยที่องค์พระมหากษัตริย์เป็นจุด
ส่งต่อความห่วงใยที่ทั่วถึง ศักยภาพนี้จะกลายเป็นจริงในระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข ที่องค์พระมหากษัตริย์มีคุณลักษณะสองอย่างคือ เป็นที่รักของประชาชนทั้งปวง
และแสดงความรักและห่วงใยต่อทุกส่วนของพลเมืองจนเป็นที่ประจักษ์ ในระบอบการปกครองฯ
ที่ศักยภาพนี้เป็นจริง คุณค่านี้จะเป็นพลังที่รักษาระบอบการปกครองนี้ไว้ที่มากกว่าและยั่งยืนกว่า
ประเพณีนิยมและการเน้นเพียงพิธีกรรมต่างๆ” สิ่งที่เป็นเสมือนคำเตือนจากมารคคือ หากองค์
พระมหากษัตริย์ขาดข้อหนึ่งข้อใดในคุณลักษณะทั้งสอง ความได้เปรียบของระบอบการปกครองฯ
นี้ก็จะหายไปด้วย อย่างไรก็ดี มารคก็มีคำเตือนสำหรับผู้นิยมสาธารณรัฐด้วย “สถาบันกษัตริย์
11 นาธาเนียล ฮาร์ริส; อ้างแล้ว น. 31-3
12 มารค ตามไท, 2543; การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข; วิถีสังคมไท: เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
สรรนิพนธ์ทางวิชาการเนื่องในวาระหนึ่งศตวรรษ. ปรีดี พนมยงค์ จรัญ โฆษณานันท์ บรรณาธิการ; กรุงเทพฯ,
สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก, น. 92-107