Page 259 - kpi15476
P. 259
25 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
การนำเสนอเรื่องภยาคติที่กำกับชีวิตมนุษย์ข้างต้น ก็เพื่อชี้ให้เห็นว่ามนุษย์เรามีความกลัว
และความต้องการที่คล้ายคลึงกัน ถ้าสังคมการเมืองสามารถลดความกลัวและตอบสนองความ
ต้องการหรือความจำเป็นพื้นฐานได้ สังคมถึงแม้จะขัดแย้งกันแต่ก็น่าจะอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข
อย่างไรก็ดี ความกลัวมักถูกอ้างว่าเป็นเรื่องของปัจเจก มีการอ้างด้วยซ้ำไปว่าประชาธิปไตยเสรีคือ
ยาขนานเอกในการผลักดันความกลัวให้เป็นเรื่องส่วนตัว (privatization of fear) เช่น การ
กระจายอำนาจ การจัดการตนเองผ่านองค์กรท้องถิ่น การที่รัฐคุ้มครองเสรีภาพทางศาสนา สภาพ
การเลื่อนชั้นทางสังคม (social mobility) และการปกครองโดยผู้แทนประชาชน ฯลฯ จะช่วยให้
5
ความกลัวระดับสาธารณะลดลง อย่างไรก็ดี จอห์น คีน อ้างเหตุผลแย้งว่า แม้ประชาธิปไตยเป็น
กระบวนการแบ่งปันและถ่ายโอนอำนาจโดยสันติวิธีและลดความตึงเครียดโดยแสวงความเห็นพ้อง
ระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครองก็จริง แต่ในระบอบประชาธิปไตย อำนาจก็ยังไม่เป็นของ
พลเมืองทุกคน หากเป็นของเสียงข้างมากหรือของกระแสหลัก ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยเสรี
ก็ยังทำสงครามพอๆ กับประเทศที่มีการปกครองในระบอบอื่น และแม้ว่าประเทศมหาอำนาจ
6
อาจมีความสูญเสียจากสงครามน้อยลง แต่พวกเขายังทำสงครามกับประเทศอื่นโดยส่งความตาย
ทางไกลและขายอาวุธให้ประเทศอื่นนำไปก่อความรุนแรงอยู่เหมือนเดิม ส่วนการก่อการร้าย
โดยฝ่ายต่อต้านรัฐและโดยฝ่ายรัฐที่เป็นประชาธิปไตยเอง ก็ยังคงเป็นปฏิกิริยาซึ่งกันและกันและ
หล่อเลี้ยงความสะพรึงกลัว (terror) อยู่เหมือนเดิม ส่วนประชาสังคมที่เชื่อกันว่าจะช่วยเปิดพื้นที่
การมีส่วนร่วมและลดความตึงเครียดได้นั้น อาจเป็นผู้สร้างความตึงเครียดเสียเอง โดยฝ่ายรัฐบาล
มองว่าประชาสังคมคอยบีบคั้นและทำตัวเป็นปฏิปักษ์ ส่วนฝ่ายชุมชนที่ภาคประชาสังคมมุ่งจะ
เข้าไปช่วยนั้น บ้างก็ปฏิเสธบทบาทความเป็นตัวกลางของภาคประชาสังคม บ้างก็กล่าวโทษฝ่าย
อื่นว่าเป็นตัวการทำให้สูญเสียความเป็นชุมชนของอดีตที่จินตนาการว่ามีเสถียรภาพ อีกประการ
7
หนึ่ง เสรีภาพของสื่อมวลชนที่หวังว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญของการป้องปรามการลุแก่อำนาจโดยการ
รายงานข่าวแบบสืบค้นและเจาะลึกนั้น กลับไม่สามารถทำหน้าที่ได้ดีนัก ซ้ำร้ายในสถานการณ์
ที่วิกฤติ อาจเป็นปัจจัยกระพือความกลัว ความเกลียดและความรุนแรงเสียเอง
กล่าวโดยสรุปคือ ความกลัวนอกจากจะเป็นแรงขับเคลื่อนในส่วนลึกของมนุษย์แล้ว
ยังเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ซึ่งไม่แน่นอน (contingent) ความกลัวจึงเป็นประเด็นสาธารณะและ
เป็นปัญหาการเมือง ที่ควรแก่การขบคิด ไตร่ตรอง และค้นหาวิธีการทางการเมืองในอันที่จะก้าว
พ้นความกลัวให้ได้ไม่มากก็น้อย
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย 5 6 7 Keane J. in Violence and Politics: Globalization’s Paradox edited by K. Worcester, S.A.
Bermanzhon, and M.Ungar, 2002; Fear and Democracy; New York and London, Routledge, p. 228
Small, Melvin and Singer, 1976; The War-Proneness of Democratic Regime, 1816-1965;
Jerusalem Journal of International Relationship อ้างถึงใน Mindell A.1995; Sitting in Fire; Oragon, Lao
Tse Press, p. 227
Keane J. อ้างถึงแล้ว น. 236-8